
Shell Energy Transition Strategy
Read about how we are transforming as we accelerate the transition of our business to net-zero emissions energy business by 2050.
Read the Shell Energy Transition Strategyความท้าทายเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและบทบาทของพลังงานในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นสิ่งที่เชลล์ตระหนักมาเป็นเวลานาน โดยหน้าที่หลักสำหรับสังคมและสำหรับเชลล์คือการหาวิธีการผลิตพลังงานที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณต่ำ
ชีวิตของเราขึ้นอยู่กับพลังงานไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหน แต่เพื่อการเติบโตไปพร้อมกับการจัดการปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ สังคมและชุมชนนั้นจำเป็นต้องผลิตพลังงานในปริมาณมากยิ่งขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ควบคู่ไปกับการแสวงหาวิธีการที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้น้อยลง
เชลล์เล็งเห็นความท้าทายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและบทบาทของพลังงานที่สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตให้เกิดขึ้นได้ เราเชื่อว่า ถึงแม้จะมีการพัฒนาเทคโนโลยีเกิดขึ้นมา นโยบายที่มีประสิทธิภาพและการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมยังคงมีส่วนสำคัญต่อการขับเคลื่อนธุรกิจคาร์บอนต่ำ ตลอดจนทางเลือกและโอกาสของผู้บริโภค เชลล์จึงสนับสนุนการจัดตั้งกลไก “การกำหนดราคา” ของคาร์บอนนำโดยรัฐบาล โดยมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ (CO2) ซึ่งเป็นแนวคิดที่จำเป็นเพื่อส่งเสริมให้เปลี่ยนมาใช้พลังงานและน้ำมันเชื้อเพลิงคาร์บอนต่ำ
เชลล์พร้อมตอบรับและสนับสนุนความพยายามต่าง ๆ ของรัฐบาล เพื่อร่วมประสานงานในการบรรลุข้อตกลงด้านภูมิอากาศระดับโลก และพร้อมสนับสนุนเป้าหมายระยะยาวด้านภูมิอากาศ เพื่อก่อให้เกิดความสมดุลระหว่างสิ่งแวดล้อมและโอกาสในการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งความตกลงปารีสขององค์กรสหประชาชาติ (the United Nations Paris Agreement) ด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ที่ได้เริ่มบังคับใช้เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ซึ่งความตกลงดังกล่าวนี้ มีจุดประสงค์ในการพยายามลดอุณหภูมิอากาศท่ามกลางภาวะโลกร้อนนี้ให้ต่ำลง 2 องศาเซลเซียส ด้วยการจัดการด้านสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการรองรับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
ในปัจจุบัน เชลล์ยังคงเป็นบริษัทผู้ผลิตน้ำมันและก๊าซ และเป็นบริษัทที่มีประวัติด้านนวัตกรรมมาอย่างยาวนานเช่นกัน เราตระหนักดีว่า ความสำเร็จในระยะยาวนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถทั้งในด้านการคาดการณ์ชนิดของพลังงานและเชื้อเพลิงซึ่งเป็นที่ต้องการของทุกคนในอนาคต ควบคู่ไปกับการมีศักยภาพสำหรับการแข่งขันทางการค้ารวมถึงการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
เรามุ่งมั่นลดปริมาณความเข้มข้นของการปล่อยก๊าซและยืนหยัดพัฒนาประสิทธิภาพด้านพลังงานเพื่อการปฏิบัติการของเรา
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายด้านปริมาณสุทธิของคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint).
Shell Scenarios คือ การคาดการณ์อนาคตซึ่งพลังงานหมุนเวียนจะสามารถกลายเป็นส่วนประกอบที่ใหญ่ที่สุดของระบบพลังงานโลก อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่ากลุ่มพลังงานหมุนเวียนจะเติบโตอย่างรวดเร็ว พลังงานเหล่านี้จะสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ด้านพลังงานได้อย่างครอบคลุมก็ต่อเมื่อได้รวมกลุ่มพลังงานหมุนเวียนเข้ากับสารไฮโดรคาร์บอนที่สะอาดยิ่งขึ้น เช่น ก๊าซธรรมชาติ และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อจับและจัดเก็บการปลดปล่อยของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
และเพื่อให้แผนดังกล่าวประสบความสำเร็จสำหรับจำนวนประชากรโลกอย่างน้อย 9 พันล้านคนภายใน 50 ปี/ครึ่งศตวรรษนั้น จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากทั่วโลกพร้อมกับการมีนโยบายที่มีประสิทธิภาพ ความกระตือรือร้น และวิสัยทัศน์ระยะยาว โดยแผนการของเชลล์เป็นการคาดการณ์อนาคตที่พลังงานหมุนเวียนสามารถกลายเป็นส่วนประกอบที่ใหญ่ที่สุดของระบบพลังงานโลก
Shell Scenarios ระบุว่า ระบบพลังงานในอนาคตนั้นเป็นสิ่งที่เกิดจากการประสานรวมกันในทศวรรษข้างหน้า ซึ่งอาจเกิดจากการใช้พลังงานที่ไม่ทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ ในบางประเทศและบางภาคส่วนของเศรษฐกิจ ในขณะที่ในบางภาคส่วน เช่น ในกลุ่มอุตสาหกรรมหนักที่ใช้พลังงานสูง อาจต้องการเวลามากขึ้นเพื่อพัฒนาโซลูชันทางเทคโนโลยี
แนวทางที่สังคมสามารถขับเคลื่อนไปสู่อนาคตที่มีการใช้พลังงานคาร์บอนต่ำนั้นรวมถึงการพัฒนาประสิทธิภาพของพลังงาน การเปลี่ยนจากพลังงานถ่านหินสู่พลังงานก๊าซธรรมชาติ พร้อมทั้งการเพิ่มการปล่อยกระแสไฟฟ้าและการใช้กลุ่มพลังงานหมุนเวียน โดยทางเลือกอื่น ๆ รวมถึงการใช้พลังงานคาร์บอนต่ำที่มีจำนวนมากขึ้น การทบทวนเรื่องการใช้ที่ดินและนโยบายด้านเกษตรกรรม และการวางแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้พลังงานคาร์บอนต่ำ สำหรับเมืองต่าง ๆ และระบบการเดินทางขนส่ง
Shell Scenarios ยังได้ระบุอีกด้วยว่า โลกของเราต้องการแนวทางที่จะบรรลุการลดการปล่อยก๊าซในบางภาคส่วน เพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซที่ยังมีอยู่ แนวทางหนึ่งในการทำเช่นนี้คือการรวมการแปลสภาพชีวมวลให้เป็นก๊าซเข้ากับเทคโนโลยีดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CCS) ในการผลิตไฟฟ้า
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ที่เชลล์กำลังดำเนินการอยู่
ก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นไฮโดรคาร์บอนที่เผาไหม้ได้สะอาดที่สุด โดยปริมาณการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นับเป็นครึ่งหนึ่งและเป็นหนึ่งในสิบของมลพิษทางอากาศเมื่อเปรียบเทียบกับถ่านหินเมื่อถูกนำไปใช้สำหรับการผลิตพลังงาน
เชลล์เปลี่ยนก๊าซธรรมชาติเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น เชื้อเพลิงที่เป็นของเหลว สารไฮดรอลิก และน้ำมันหล่อลื่น และเชลล์ยังได้พัฒนาผลิตภัณฑ์เหล่านี้อย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีประสิทธิภาพและได้รับความไว้วางใจได้มากที่สุด ก๊าซธรรมชาติยังเป็นส่วนประกอบของพลังงานหมุนเวียนแบบไม่คงที่ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม เพื่อคงไว้ซึ่งอุปทานที่สม่ำเสมอสำหรับไฟฟ้า เนื่องจากโรงไฟฟ้าพลังก๊าซนั้นสามารถเริ่มและหยุดทำงานได้อย่างค่อนข้างเร็ว
สำนักงานพลังงานสากล (The International Energy Agency – EIA) ได้ประมาณการณ์ไว้ว่า ความต้องการก๊าซของทั้งโลกจะเพิ่มขึ้น 1.5 % ทุกปี ไปจนถึงปี พ.ศ. 2583 และเชลล์จะเป็นหนึ่งในผู้จัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติและก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ชั้นนำของโลกผ่านการร่วมทุนทั้งแบบที่เราร่วมดำเนินการและไม่ได้ร่วมดำเนินการ โดยเชลล์ยังจะใช้ประโยชน์จากทรัพยากรก๊าซธรรมชาติหรือที่เป็นที่รู้จักในชื่อ ก๊าซธรรมชาติที่พบในชั้นหินดินดาน (Shale Gas)
เชลล์เชื่อว่า เราจำเป็นต้องแสวงหาวิธีใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CCS) ซึ่งเป็นการผสานรวมของเทคโนโลยีดักจับและจัดเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อป้องกันการปล่อยก๊าซออกสู่ชั้นบรรยากาศ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ตามที่ตั้งใจไว้
ตามสำนักงานพลังงานสากล (The International Energy Agency – EIA) เทคโนโลยีดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CCS) เป็นเพียงเทคโนโลยีเดียวที่สามารถทำให้เกิดการลดการปล่อยก๊าซจากการใช้ไฮโดรคาร์บอนอย่างเห็นได้ชัด
ทั่วทั้งโลก มีโครงการเทคโนโลยีดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขนาดใหญ่กว่า 21 แห่งที่กำลังก่อสร้าง โดยทั้ง 21 โครงการนี้ มีความสามารถในการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รวมกันแล้วกว่า 40 ล้านตันต่อปี (million tonnes per annum – Mtpa)
เชลล์ ร่วมมือกับผู้ร่วมลงทุนทางธุรกิจ จัดโครงการเทคโนโลยีดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขนาดใหญ่ในประเทศแคนาดาที่มีชื่อว่า “เควสต์ – Quest” ซึ่งสามารถดักจับและจัดเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่า 1 ล้านตันได้อย่างปลอดภัยภายในปีแรกของการเปิดดำเนินงาน ทั้งนี้ เชลล์กำลังดำเนินงานด้านการวิจัยทางเทคโนโลยีดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กับกลุ่มคู่ค้าทางธุรกิจทั่วโลก และร่วมแบ่งปันความรู้กับคณะทำงานและการประสานงานกัน
แต่กระนั้น ความเข้าใจในเทคโนโลยีดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างละเอียดมากขึ้นยังจำเป็น โดยสำนักงานพลังงานสากล (The International Energy Agency – EIA) ได้กล่าวว่า “เทคโนโลยีดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นั้นเป็นศูนย์กลางของแนวทางสู่การลดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกลง 2 องศาเซลเซียส โดยนับเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางที่มีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดสำหรับพลังงาน และสำหรับโซลูชันสำคัญในอุตสาหกรรม”
ในสถานการณ์ของ 2°C (2DS) เทคโนโลยีดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สามารถลดการปล่อยก๊าซได้กว่า 94 กิกะตัน (Gt) จนถึงปี พ.ศ.2593 โดยคิดรวมเป็น 12% ของการลดการปล่อยก๊าซที่เพิ่มมากขึ้นในภาคพลังงาน สำนักงานพลังงานสากลยังกล่าวอีกด้วยว่าหากไม่มีเทคโนโลยีดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์การปฏิรูปของภาคพลังงานจะใช้ค่าใช้จ่ายมากขึ้นอย่างน้อย 35,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
จากข้อมูลของสำนักงานพลังงานสากล (The International Energy Agency – EIA) แหล่งพลังงานหลักของโลก 19% นั้นมาจากพลังงานหมุนเวียนประกอบไปด้วย ไฟฟ้าพลังน้ำและชีวมวล รวมถึงการงดปล่อยพลังงานนิวเคลียร์ และอีก 1% มาจากพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ และ 81% ของพลังงานขั้นพื้นฐานมาจากไฮโดรคาร์บอน
เชลล์เพียบพร้อมไปด้วยประสบการณ์ด้านพลังงานลมมากว่าทศวรรษ และยังมีความสนใจในธุรกิจด้านพลังงานลมในทวีปอเมริกาเหนือและยุโรป ซึ่งมีศักยภาพการผลิตกว่า 1,000 เมกะวัตต์ ก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นองค์ประกอบของพลังงานหมุนเวียน ยังได้ชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่องในปัจจุบันในเชิงปริมาณ ความพร้อมให้บริการ ความไม่ต่อเนื่อง การจัดเก็บ และความหนาแน่นของพลังงาน
ในประเทศบราซิล เราได้ทำการลงทุนจำนวนสำหรับการผลิตเอทานอลจากอ้อย ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพที่ปล่อยคาร์บอนต่ำที่สุด เรายังคงยืนหยัดสำรวจตัวเลือกด้านเชื้อเพลิงชีวภาพในรุ่นที่สอง ในส่วนของธุรกิจพลังงานใหม่ที่เพิ่งก่อตั้งนั้น จะได้เพิ่มโอกาสการลงทุนในโซลูชันด้านพลังงานที่รวมพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์กับก๊าซ รวมถึงค้นหาแนวทางใหม่ที่จะเชื่อมต่อลูกค้ากับพลังงาน
Shell Scenarios ชี้ให้เห็นว่า สังคมนั้นยังต้องเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนเป็น 80% ของทั้งระบบพลังงาน ซึ่งมีปริมาณมากกว่าในปัจจุบันเป็นอย่างมาก หากโลกของเราจะจัดทำการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานและบรรลุจุดมุ่งหมายในระยะยาวนั่นคือ การปล่อยพลังงานแบบใกล้เคียงกับการปล่อยแบบ net-zero ภายในปี พ.ศ. 2643
เชลล์สนับสนุนการจัดตั้งกลไกราคาที่นำโดยรัฐบาลและกำหนดค่าใช้จ่ายที่มีความชัดเจนสำหรับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งจำเป็นสำหรับการสร้างการเปลี่ยนแปลงสู่พลังงานคาร์บอนต่ำและตัวเลือกเชื้อเพลิง
กลไกราคาของคาร์บอนเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่ช่วยกระตุ้นการลงทุนในการพัฒนาเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำรวมถึงการสร้างตัวเลือกพลังงานใหม่อีกด้วย นโยบาย “ราคา” คาร์บอนของรัฐบาลได้รับการออกแบบมาเพื่อเปลี่ยนราคาของสินค้าและการให้บริการ เพื่อสนับสนุนกลุ่มที่ปล่อยก๊าซในระดับต่ำ
ทั้งภาษีและระบบการซื้อขายปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นั้นสามารถสร้างรายได้ใหม่ให้แก่รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ได้ พร้อมทั้งยังทำให้สามารถแน่ใจได้ว่าผู้บริโภคจะไม่ได้รับผลกระทบจากค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่สูงขึ้น ตามหลักการแล้วสิ่งนี้สามารถสร้างกลุ่มที่มีความสามารถพิเศษที่ประมาณการปล่อยก๊าซต่ำลงในขณะที่มาตรฐานการดำรงชีวิตเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ของธนาคารโลกเกี่ยวกับกลไกราคาของคาร์บอน
เราเชื่อว่าตัวเลือกการขนส่งแบบคาร์บอนต่ำที่หลากหลายนั้นเป็นที่ต้องการ เช่น การใช้ยานพาหนะแบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าที่มีมากขึ้นในเมืองต่าง ๆ สามารถลดปริมาณมลพิษได้ ในขณะที่ก๊าซไฮโดรเจนได้กลายเป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะแบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าที่สามารถนำไปใช้การได้จริงและราคาไม่แพงมากนัก
ในขณะเดียวกัน เชื้อเพลิงชีวภาพ ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) และไฮโดรคาร์บอนเหลวชนิดอื่นจะยังมีบทบาทสำคัญในการขนส่งทั้งทางบก ทางเรือ และทางอากาศ
เพื่อสร้างอนาคตที่มีการใช้พลังงานคาร์บอนต่ำ การใช้ไฟฟ้าแบบคาร์บอนต่ำที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อการใช้งานในชีวิตประจำวันของพวกเราและเพื่อเพิ่มสมรรถภาพทางเศรษฐกิจนั้นเป็นกุญแจสำคัญ ส่วนแบ่งของพลังงานไฟฟ้าในบรรดาพลังงานทั้งหมดทั่วโลกสามารถเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยเป็นผลจากการใช้ระบบการทำความร้อนและการขนส่งที่มากขึ้น
หากโลกต้องตอบสนองความต้องการการใช้พลังงานของเราและบรรลุเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การใช้พลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้นนี้จะต้องมาจากแหล่งพลังงานคาร์บอนต่ำ รวมถึงพลังงานหมุนเวียนและก๊าซธรรมชาติ
Shell Scenarios เป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการปฏิบัติที่เชลล์ใช้มาตลอดระยะเวลา 40 ปี เพื่อสร้างความท้าทายให้กับกลุ่มผู้บริหารด้านสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในอนาคต เรายึดแผนการเหล่านี้จากสมมติฐานที่มีความเป็นไปได้และการแสดงปริมาณ นอกจากนี้ แผนการเหล่านี้ยังได้รับการออกแบบเพื่อการจัดการที่ยืดหยุ่นและคำนึงถึงสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลอีกด้วย ดังนั้นหลายสถานการณ์จึงไม่ได้จัดทำขึ้นโดยตั้งใจให้เป็นการคาดการณ์ของสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคตหรือผลลัพธ์ ทั้งนี้กลุ่มนักลงทุนไม่ควรจะยึดติดกับแผนการเหล่านี้เมื่อต้องตัดสินใจลงทุนด้วยเหตุผลทางความปลอดภัยสำหรับ บริษัท รอยัล ดัทช์ เชลล์ จำกัด (มหาชน)
Read about how we are transforming as we accelerate the transition of our business to net-zero emissions energy business by 2050.
Read the Shell Energy Transition StrategyThe Sky scenario illustrates a technically possible, but challenging pathway for society to achieve the goals of the Paris Agreement.
Explore Sky, our latest Shell scenarioThe former financial regulator Adair Turner on why he is chairing the Energy Transition Commission.
Read the story on Inside EnergyIt is crucial that the Paris agreement remains in place, says Shell’s Chief Climate Change Advisor David Hone. It underpins the need for the ongoing energy transition to also deliver a world of net-zero emissions.
Read the Inside Energy StoryHow could the world meet future energy demand while reducing net carbon emissions to zero?
Download the latest Shell Scenarios supplementThe world needs to adapt to the extreme weather events linked to climate change, particularly flooding and water shortages caused by droughts.
Adapting to extreme weather eventsDavid Hone, Shell’s Chief Climate Change Adviser, takes a personal view on climate change in his blog and short books.
เราเริ่มต้นลดมลพิษในอากาศโดยเริ่มจากการดำเนินงานของเราและช่วยกลุ่มลูกค้าลดผลกระทบที่เกิดจากคุณภาพอากาศโดยการใช้ผลิตภัณฑ์ของเรา
How will the world produce more, cleaner energy to power our homes and cities, and fuel our vehicles in decades to come?
We are helping to power lives around the world with natural gas, the cleanest-burning hydrocarbon.
The energy future is not just in the hands of governments and businesses, argues Laszlo Varro. Consumers also have a huge role to play.