เปิดตัว ม.ล.ภาสันต์ สวัสดิวัตน์ นักชิมระดับแนวหน้าของประเทศ ในฐานะนักชิมคนใหม่ของเชลล์ชวนชิม ชูดิจิทัลแพลตฟอร์มพร้อมรายชื่อร้านอาหารที่ยังเปิดให้บริการและได้รับการรับรองจากเชลล์ชวนชิมเพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย พร้อมมอบตราเชลล์ชวนชิมแก่สุดยอดร้านอาหาร 10 ร้านแรกจากทั่วประเทศ มุ่งมั่นให้สถานีบริการเชลล์เป็นจุดหมายปลายทางแห่งความอร่อย 

นายอัษฎา หะรินสุต ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “เชลล์ชวนชิม เริ่มปฏิวัติวงการอาหารไทยในปี พ.ศ. 2504 โดย ม.จ.ภีศเดช รัชนี ซึ่งในสมัยนั้นท่านทรงดำรงตำแหน่งเป็นผู้จัดการแผนกส่งเสริมการขายและโฆษณาของเชลล์ ได้ทรงดำริที่จะส่งเสริมการใช้แก๊สหุงต้มสำหรับร้านอาหารและครัวเรือนให้เป็นที่แพร่หลาย ท่านจึงได้ทรงปรึกษากับ ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ และเกิดเป็นแนวคิดที่จะชูเรื่องอาหาร โดยการแนะนำอาหารอร่อยในประเทศไทย ถือเป็นการกำเนิด “เชลล์ชวนชิม” โดยมีเชลล์เป็นผู้สนับสนุน ในวันนี้เชลล์ จึงรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งในการสานต่อการครบรอบ 58 ปีของ “เชลล์ชวนชิม” ที่ยืนยันความอร่อยคู่ลิ้นคนไทยมาอย่างยาวนาน ทั้งนี้นอกจากจะเป็นสัญลักษณ์แห่งความอร่อยที่ผู้บริโภคเชื่อใจและมั่นใจแล้ว เชลล์ชวนชิมยังได้ช่วยยกระดับและสนับสนุนผู้ประกอบการร้านอาหารให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งและมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับไปทั่วประเทศ ซึ่งเป็นเจตนารมณ์ของเชลล์ในการ เติมสุขให้ทุกชีวิต”

สำหรับการสานต่อการครบรอบ 58 ปีของเชลล์ชวนชิมในครั้งนี้ เชลล์ได้ทำให้เชลล์ชวนชิมมีภาพลักษณ์และรูปแบบใหม่ที่ทันสมัยมากขึ้น สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของผู้คนในปัจจุบันที่มักจะหาข้อมูลใหม่ๆ ทางออนไลน์เพื่อตามรอยในช่วงเวลาพักผ่อนหรือในระหว่างการเดินทาง โดยพวกเขาสามารถเข้าถึงร้านอร่อยในตำนานเชลล์ชวนชิมผ่านดิจิทัล แพลตฟอร์มได้ บนเว็บไซต์ www.shellshuanshim.com เฟซบุ๊ก (@shellshuanshimofficial) และยูทูป เชลล์ชวนชิม (Shellshuanshim channel) เพื่อให้เชลล์ชวนชิมเป็นสัญลักษณ์ความอร่อยของคนทุกเพศทุกวัย นอกจากนี้ เชลล์ยังมีแผนการที่จะนำร้านที่ได้รับตราเชลล์ชวนชิมไปเปิดให้บริการในสถานีบริการน้ำมันเชลล์ในอนาคตอีกด้วย

นางสาวอรอุทัย ณ เชียงใหม่ กรรมการบริหาร ธุรกิจการตลาดค้าปลีก บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “เชลล์มีความเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคชาวไทยเป็นอย่างดีว่า ไม่ได้ต้องการแค่น้ำมันคุณภาพในสถานีบริการน้ำมันระหว่างเดินทางเท่านั้น แต่ยังต้องการการดูแลและความสะดวกสบายที่ครบวงจร ด้วยเหตุนี้เองเชลล์จึงเดินหน้าในการปรับปรุงและขยายสถานีบริการน้ำมันเชลล์ทั่วประเทศเพื่อมอบความสะดวกสบายเต็มรูปแบบไม่ว่าจะเป็นร้านกาแฟ ร้านสะดวกซื้อ ศูนย์เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องรถยนต์และ รถมอเตอร์ไซค์ รวมถึงห้องน้ำสะอาด เชลล์ชวนชิมซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความอร่อยที่ชาวไทยคุ้นเคยกันดีจะเป็นสิ่งเติมเต็มทำให้สถานีบริการน้ำมันเชลล์แตกต่างเพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่มองหาของอร่อยระหว่างการเดินทาง โดยบริษัทฯ มีแผนการที่จะนำร้านอาหารที่ได้รับตราเชลล์ชวนชิมมาเปิดให้บริการที่สถานีบริการน้ำมันเชลล์ทั่วประเทศเพื่อพัฒนาให้เป็นจุดหมายปลายทางแห่งความอร่อย เรียกได้ว่าถ้านึกถึงร้านอร่อยจะต้องนึกถึงสถานีบริการน้ำมันเชลล์ เพื่อเติมเต็มให้สถานีบริการน้ำมันเชลล์เป็น “สถานีเติมสุข” แก่ผู้บริโภคอย่างครบวงจร รวมถึงเปิดโอกาสทางธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการร้านอาหารในพื้นที่นั้น โดยผู้ที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่ 02-657-9888

เชลล์ชวนชิม ยังได้รับเกียรติจาก ม.ล.ภาสันต์ สวัสดิวัตน์ ที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในวงการอาหารในประเทศไทยและชิมอาหารมาแล้วทั่วประเทศ มาเป็นนักชิมคนใหม่ของเชลล์ชวนชิม ร่วมกับคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ชาวไทยที่มีความเข้าใจในรสชาติที่ชาวไทยชื่นชอบเป็นอย่างดี

“ม.ล.ภาสันต์ สวัสดิวัตน์ เป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับในวงการอาหารประเทศไทยอย่างกว้างขวาง เปี่ยมด้วยประสบการณ์และความรู้ด้านต้นตำรับอาหารและรสชาติที่อร่อยถูกปากอย่างแท้จริง โดยจะมาสานต่อตำนานของ ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ ในฐานะประธานคณะกรรมการเชลล์ชวนชิม เพื่อคัดเลือกร้านอาหารร่วมกับนักชิมผู้ทรงคุณวุฒิท่านอื่นๆ ในการรับรองร้านอาหารเชลล์ชวนชิมร้านใหม่ๆ เพื่อคงความเป็นเอกลักษณ์ของเชลล์ชวนชิม สัญลักษณ์แห่งความอร่อยของผู้บริโภคทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ เมื่อผู้บริโภคเห็นสัญลักษณ์เชลล์ชวนชิม ก็สามารถมั่นใจได้ทันทีว่าร้านนี้เป็นร้านที่อร่อยผ่านการคัดเลือกมาอย่างดี เรียกได้ว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งความอร่อยเพื่อคนไทย โดยคนไทยอย่างแท้จริง การมอบสัญลักษณ์ความอร่อยให้กับร้านอาหารที่ผ่านมาตรฐานเชลล์ชวนชิม 10 ร้านในวันนี้เป็นการยืนยันว่าเชลล์ยังคงมุ่งมั่นที่จะส่งมอบความสุข ด้วยการมอบความอร่อยที่ถูกปากผู้บริโภคชาวไทยนายกมล คงสกุลวัฒนสุข รองกรรมการบริหาร ธุรกิจการตลาดค้าปลีก บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด กล่าว

ร้านอาหารที่จะได้รับตราเชลล์ชวนชิมต้องมีคุณสมบัติที่เป็นไปตามมาตรฐาน 3 ข้อคือ คือมีรสชาติอร่อย คงรสชาติต้นตำรับ และจะต้องคุ้มค่าแก่การเดินทางไปชิม ซึ่งภายในงานยังมีการมอบตราเชลล์ชวนชิมให้กับร้านอาหารใหม่ 10 ร้านแรกเพื่อยืนยันถึงสุดยอดความอร่อย ได้แก่ 

  1. ร้านลุงเลียง-ป้ามาลี ร้านอาหารพื้นบ้านซ่อนตัวอยู่ในชุมชนบ้านตะเคียนเตี้ย จังหวัดชลบุรี ที่มาพร้อมกับอาหารรสชาติจัดจ้านและเมนูอาหารให้เลือกหลากหลาย รวมถึงเมนูหาทานยาก อย่างผัดกะเพรานก หมูป่าพล่าระกำ ปลาดุกทอดน้ำปลา แกงไก่ใส่กะลามะพร้าว
  2. ร้านเจ๊โอว ร้านข้าวต้มเก่าแก่ชื่อดังย่านบรรทัดทองที่ไม่ว่าจะแวะไปเวลาไหนก็คึกคักตลอด เพราะมีตัวเลือกหลากหลายและรสชาติอาหารที่อร่อยไม่แพ้ใคร อย่างยำปลาแซลมอน เมนูที่ถูกใจวัยรุ่น หมูกรอบ ที่หนังพองมันน้อยสุดๆ หรือจะเป็นเมนูเด็ดมื้อดึกอย่างมาม่าหน้ากรรเชียงปูรวม ที่ให้คุณเต็มอิ่มสุดๆ กับเส้นมาม่า 4 ห่อ ไข่ดิบ 4 ฟองและเครื่องที่จัดเต็มทุกอย่าง
  3. ร้านบ้านนวล ร้านอาหารไทยพื้นบ้านรสชาติดีเยี่ยม บรรยากาศเป็นกันเองเหมือนทานข้าวบ้านเพื่อน ทำให้ร้านนี้มีคิวแน่นตลอดจนต้องจองโต๊ะกันข้ามเดือน ตั้งอยู่ในซอยสามเสน 2 โดยมีเมนูสุดฮิตห้ามพลาดอย่างกุ้งผัดมันกุ้ง หมูสามชั้นทอดน้ำปลา ปูจ๋า ต้มส้มปลาเต๋าเต้ย น้ำพริกไข่ปู เป็นต้น
  4. ร้านเรือนไทยกุ้งเผา ร้านอาหารทะเลประจำอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ขึ้นชื่อเรื่องกุ้งเผาไซส์ใหญ่ผ่าครึ่งซีกย่างบนเตาถ่าน เนื้อกุ้งสดหวานความสุกกำลังดีที่มาพร้อมกับมันไหลเยิ้ม ท่ามกลางบรรยากาศริมแม่น้ำเจ้าพระยา
  5. ร้านข้าวเหนียวมะม่วง ป้าเล็กป้าใหญ่ ร้านข้าวเหนียวมะม่วงที่โด่งดังทั้งในหมู่คนไทยและชาวต่างชาติ ของอร่อยหายากเพราะมีจำหน่ายตามฤดูกาลหรือปีละ 4 เดือนเท่านั้น โดยข้าวเหนียวมูนของร้านนี้หอมมัน หวานกำลังดี และไม่ผสมแป้งแม้แต่น้อย เป็นสูตรที่ได้รับการสืบทอดกันมาอย่างยาวนานถึง 3 ชั่วอายุคน กินคู่กับมะม่วงน้ำดอกไม้ที่คัดสรรมาอย่างดี ส่งผลให้ข้าวเหนียวมะม่วงร้านนี้หอมอร่อยเป็นเอกลักษณ์ โดยสามารถตามรอยความอร่อยนี้ได้ที่ถนนสันติภาพ ข้างร้านสหยางทอง 
  6. ร้านแดงแหนมเนือง ร้านอาหารเวียดนามอันเลืองชื่อที่มีประวัติความอร่อยอันยาวนานกว่า 50 ปี อาหารขึ้นชื่อคงหนีไม่พ้นแหนมเนือง อีกหนึ่งของดีประจำจังหวัดหนองคาย จนได้รับขนานนามว่าหากใครไปหนองคายแต่ไม่ได้แวะทานแหนมเนืองที่ร้านแดงแหนมเนืองถือว่าไปไม่ถึงหนองคาย
  7. ร้านฮอนโมโน (Honmono) ร้านอาหารญี่ปุ่นคุณภาพเยี่ยมที่คัดสรรวัตถุดิบมาเป็นอย่างดี สดใหม่เหมือนไปกินที่ตลาดปลา เมนูแนะนำจึงหนีไม่พ้นซูชิและเมนูที่ชื่อขึ้นต้นด้วย “Honmono” ส่วนการเดินทางไปชิมก็สะดวก เนื่องจากทางร้านได้ขยายสาขาเพิ่มขึ้นเป็น 9 สาขาทั่วกรุงเทพฯ
  8. ร้านโคคอตฟาร์มโรสต์แอนด์ไวน์เนอรี่ (Cocotte Farm Roast & Winery) สเต๊กเฮาส์แห่งนี้ตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพฯ ในโครงการ 39 บูเลอวาร์ด แต่ให้ความรู้สึกและบรรยากาศเหมือนทานอาหารอยู่ในฟาร์มชนบทประเทศฝรั่งเศส โดดเด่นด้วยตัวเลือกเนื้อเกรดพรีเมียมอันหลากหลายที่ผ่านการใส่ใจและเทคนิคการปรุงรสพิเศษด้วยเตารมควันชั้นดีพร้อมดูแลและคัดสรรวัตถุดิบชั้นเลิศจากทั่วโลกโดยเชฟชาวฝรั่งเศสมากประสบการณ์
  9. ร้านโทบี้ส์ (Toby's) ร้านอาหารออสซี่สุดฮิตในซอยสุขุมวิท 38 ก่อตั้งโดยหนุ่มสาวผู้เคยใช้ชีวิตในประเทศออสเตรเลีย ที่ได้รวบรวมเมนูอาหารเช้า-เย็น ขนมหวาน และเครื่องดื่มสไตล์ออสเตรเลียไว้ในที่เดียวในบรรยากาศที่อบอุ่นเป็นกันเอง
  10. ร้านลิมอนเชลโล (Pizzeria Limoncello) ร้านพิซซ่าอิตาเลียนขึ้นชื่อติดอันดับย่านสุขุมวิท ที่คงรสชาติต้นตำรับพิซซ่าบางกรอบจากเมือง Napoli และ Caprio นับสิบหน้า เมนูเด็ดที่ไม่ควรพลาดคือ พิซซ่า ลิมอนเชลโล ที่มีเห็ดแชมปิญองสดจากนิวซีแลนด์ และชีสกอร์กอนโซลาเข้มข้น ซึ่งนอกจากพิซซ่าแล้ว ทางร้านยังมีเมนูให้ลูกค้าเลือกสรรอีกมากมาย

ผู้สนใจติดตามข้อมูลความอร่อยล่าสุดของร้านที่ได้รับตราเชลล์ชวนชิมสามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.shellshuanshim.com เฟซบุ๊ก @shellshuanshimofficial และยูทูป เชลล์ชวนชิม (Shellshuanshim)

ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชนกรุณาติดต่อ:

สุดารัตน์ พีตกานนท์
ผู้จัดการ
ฝ่ายสื่อสารองค์กร

สกาววรรณ สุพรรณเภษัช
ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน สแตรทิจีส์ ประเทศไทย
โทรศัพท์ +662 627 3501 ต่อ 114
อีเมล: ssupanpaesat@hkstrategies.com

ฐิติภา ลักษณพิสุทธิ์
ผู้จัดการใหญ่
ฝ่ายสื่อสารองค์กร
บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด
โทรศัพท์ +662 262 7839 

Cautionary Note

The companies in which Royal Dutch Shell plc directly and indirectly owns investments are separate legal entities. In this press release “Shell”, “Shell group” and “Royal Dutch Shell” are sometimes used for convenience where references are made to Royal Dutch Shell plc and its subsidiaries in general. Likewise, the words “we”, “us” and “our” are also used to refer to Royal Dutch Shell plc and subsidiaries in general or to those who work for them. These terms are also used where no useful purpose is served by identifying the particular entity or entities. ‘‘Subsidiaries’’, “Shell subsidiaries” and “Shell companies” as used in this press release refer to entities over which Royal Dutch Shell plc either directly or indirectly has control. Entities and unincorporated arrangements over which Shell has joint control are generally referred to as “joint ventures” and “joint operations”, respectively. Entities over which Shell has significant influence but neither control nor joint control are referred to as “associates”. The term “Shell interest” is used for convenience to indicate the direct and/or indirect ownership interest held by Shell in an entity or unincorporated joint arrangement, after exclusion of all third-party interest.

This press release contains forward-looking statements (within the meaning of the U.S. Private Securities Litigation Reform Act of 1995) concerning the financial condition, results of operations and businesses of Royal Dutch Shell. All statements other than statements of historical fact are, or may be deemed to be, forward-looking statements. Forward-looking statements are statements of future expectations that are based on management’s current expectations and assumptions and involve known and unknown risks and uncertainties that could cause actual results, performance or events to differ materially from those expressed or implied in these statements. Forward-looking statements include, among other things, statements concerning the potential exposure of Royal Dutch Shell to market risks and statements expressing management’s expectations, beliefs, estimates, forecasts, projections and assumptions. These forward-looking statements are identified by their use of terms and phrases such as “aim”, “ambition’, ‘‘anticipate’’, ‘‘believe’’, ‘‘could’’, ‘‘estimate’’, ‘‘expect’’, ‘‘goals’’, ‘‘intend’’, ‘‘may’’, ‘‘objectives’’, ‘‘outlook’’, ‘‘plan’’, ‘‘probably’’, ‘‘project’’, ‘‘risks’’, “schedule”, ‘‘seek’’, ‘‘should’’, ‘‘target’’, ‘‘will’’ and similar terms and phrases. There are a number of factors that could affect the future operations of Royal Dutch Shell and could cause those results to differ materially from those expressed in the forward-looking statements included in this press release, including (without limitation): (a) price fluctuations in crude oil and natural gas; (b) changes in demand for Shell’s products; (c) currency fluctuations; (d) drilling and production results; (e) reserves estimates; (f) loss of market share and industry competition; (g) environmental and physical risks; (h) risks associated with the identification of suitable potential acquisition properties and targets, and successful negotiation and completion of such transactions; (i) the risk of doing business in developing countries and countries subject to international sanctions; (j) legislative, fiscal and regulatory developments including regulatory measures addressing climate change; (k) economic and financial market conditions in various countries and regions; (l) political risks, including the risks of expropriation and renegotiation of the terms of contracts with governmental entities, delays or advancements in the approval of projects and delays in the reimbursement for shared costs; and (m) changes in trading conditions. No assurance is provided that future dividend payments will match or exceed previous dividend payments. All forward-looking statements contained in this press release are expressly qualified in their entirety by the cautionary statements contained or referred to in this section. Readers should not place undue reliance on forward-looking statements. Additional risk factors that may affect future results are contained in Royal Dutch Shell’s 20-F for the year ended December 31, 2017 (available at www.shell.com/investor and www.sec.gov ). These risk factors also expressly qualify all forward looking statements contained in this press release and should be considered by the reader. Each forward-looking statement speaks only as of the date of this press release, 16 September 2019. Neither Royal Dutch Shell plc nor any of its subsidiaries undertake any obligation to publicly update or revise any forward-looking statement as a result of new information, future events or other information. In light of these risks, results could differ materially from those stated, implied or inferred from the forward-looking statements contained in this press release.

We may have used certain terms, such as resources, in this press release that United States Securities and Exchange Commission (SEC) strictly prohibits us from including in our filings with the SEC. U.S. Investors are urged to consider closely the disclosure in our Form 20-F, File No 1-32575, available on the SEC website www.sec.gov.