Shell Forum 2022

(จากซ้ายไปขวา) นายปนันท์ ประจวบเหมาะ ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด, นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ร่วมงานสัมมนา Shell Forum 2022

นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวปาฐกถาในช่วงแรกของงานซึ่งใช้ชื่อว่า “The Thought Leaders” ผ่านหัวข้อ Thailand's Climate Commitment and Decarbonization Journey ว่า “ประเทศไทยติด 1 ใน 10 ประเทศของโลก ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ขณะที่เราปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียง 0.8% ของโลก โดยมีสาเหตุหลักมาจากการทำปศุสัตว์ รวมถึงเกษตรกรรม กระทรวงฯ จึงได้มีการทดลองปรับปรุงเทคนิคการทำนาขึ้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี ด้วยการปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้งซึ่งพบว่าช่วยลดการเกิดก๊าซมีเทนได้สูงถึง 70% และยังเพิ่มผลผลิตได้ถึง 850 กิโลกรัมต่อไร่ นอกจากนี้ยังได้ดำเนินงานตามนโยบาย Bio-Circular-Green Economy (BCG) เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี พ.ศ. 2593 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ. 2608 โดยเน้นขับเคลื่อนการดำเนินงาน 6 ด้าน ได้แก่ ด้านนโยบาย ด้านการพัฒนาเทคโนโลยี CCS (Carbon Capture and Storage) ด้านการลงทุน ด้านพัฒนากลไกตลาดคาร์บอนเครดิต ด้านการเพิ่มแหล่งกักเก็บ/ดูดกลับก๊าซเรือนกระจก และด้านกฎหมาย สำหรับภาคเกษตรกรรม ได้มีการใช้แนวคิด Agri-Tech with Roots (ATR) ซึ่งประสานเทคโนโลยีร่วมกับปราชญ์ชาวบ้านของไทย ในไทยยังมีป่าชุมชนกว่า 11,000 แห่งที่ถือเป็นขุมทรัพย์สำคัญสำหรับเศรษฐกิจ รัฐบาลยังมีแผนเพิ่มพื้นที่สีเขียวในไทยให้ได้ 55% ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ทั้งนี้กระทรวงฯ ได้วางแนวทางและกลไกการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิตที่จะสนับสนุนการร่วมมือจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนอย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป”

ภายในงาน ศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้ร่วมกล่าวปาฐกถาในหัวข้อ Thailand's Decarbonization Policy in the Energy Sector ว่า “71% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปัจจุบันมาจากภาคพลังงาน รองลงมาเป็นภาคการเกษตร ตามด้วยอุตสาหกรรมการผลิต และการบริหารจัดการของเสีย ซึ่งปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Economy) อย่างยั่งยืนประกอบไปด้วย 4P ได้แก่ Profit (กำไร) People (ผู้คน) Planet (โลก) และ Partnership (พันธมิตร) กระทรวงพลังงานได้วางแนวนโยบายแผนพลังงานชาติสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำเพื่อมุ่งไปสู่การเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี พ.ศ. 2593 ซึ่งเน้นไปที่ (1) การใช้พลังงานหมุนเวียนให้มากกว่า 50% โดยมีระบบกักเก็บพลังงานที่ดี (2) นโยบาย 30@30 ที่ตั้งเป้าจะผลิตรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมดภายในปี ค.ศ. 2030 หรือ พ.ศ. 2573 (3) การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน และ (4) นโยบาย 4D1E ได้แก่ Digitalization การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ร่วมกับเทคโนโลยีด้านพลังงาน, Decarbonization การลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์, Decentralization การผลิตพลังงานแบบกระจายตัว, De-Regulation การเปิดเสรีภาคพลังงาน และ Electrification การใช้พลังงานไฟฟ้าสีเขียว โดยภาครัฐได้เพิ่มการลงทุนในพลังงานหมุนเวียนร่วมกับโมเดล BCG โดยเชื่อมั่นว่าเมื่อประเทศไทยปรับแผนพลังงานพร้อมขับเคลื่อนสู่สังคมเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำจะช่วยสร้างมูลค่าเศรษฐกิจ เพิ่มศักยภาพการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย เพิ่มการลงทุนและการจ้างงาน บรรเทาปัญหามลพิษ PM2.5 และฟื้นฟูเศรษฐกิจได้หลังวิกฤตโควิด-19 อย่างยั่งยืน”  

นายปนันท์ ประจวบเหมาะ ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากภาวะโลกร้อนกำลังเป็นภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน เชลล์ได้ประกาศกลยุทธ์ Powering Progress ในปี พ.ศ. 2563 เป็นกลยุทธ์ในการเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็นธุรกิจพลังงานที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ โดยมีเป้าหมายสำคัญดังนี้ (1) การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Net-zero emissions) ให้ได้ 50% ภายในปี พ.ศ. 2593 และให้เป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ. 2608 (2) การส่งเสริมคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของทุกคนให้ดีขึ้น (Powering lives) ผ่านการจัดหาพลังงานที่มีคุณภาพดี เชื่อถือได้ และยั่งยืน (3) การเคารพธรรมชาติ (Respecting nature) การปกป้องสิ่งแวดล้อม การลดและจัดการของเสีย รวมถึงการมีส่วนร่วมในการสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ (4) การสร้างมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้น (Generating shareholder value) การที่เชลล์จะสามารถบรรลุเป้าหมายที่กล่าวมาแล้วข้างต้นได้นั้น จำเป็นต้องสร้างความแข็งแกร่งด้านการเงิน 

นอกจากความมุ่งมั่นที่จะจัดหาพลังงานเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและสนับสนุนนโยบายของภาครัฐแล้ว เชลล์ยังตระหนักดีถึงความสำคัญของสมดุลระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ทั้งด้านคุณภาพ ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ความยั่งยืน และสิ่งแวดล้อม ผ่านการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการคุณภาพสูง ไม่ว่าจะเป็นการใช้เชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมจากวัสดุทางชีวภาพ การจัดจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน และผลิตภัณฑ์ยางมะตอย Bitumen Fresh Air ที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ การติดตั้งจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าร่วมกับแบรนด์รถยนต์ชั้นนำ ตลอดจนการริเริ่มโครงการ Nature-based Solutions 

จากประสบการณ์การทำงานร่วมกับหลายภาคส่วนที่ผ่านมารวมทั้งทีมงานของเชลล์ระดับภูมิภาค เรามองถึงการดำเนินงานในเรื่องต่อไปนี้ที่มีความสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมาย Net Zero Emission ของประเทศไทยอันได้แก่ (1) นโยบายหลักของการแก้ปัญหาโลกร้อนอย่างยั่งยืน จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอันดับแรกกับการลด (Avoid) และการหลีกเลี่ยง (Reduce) การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยผ่านการใช้พลังงานคาร์บอนต่ำ พลังงานทดแทนไม่ว่าจะเป็นพลังงานไฟฟ้า ลม แสงแดดเป็นจุดเริ่มต้น และสุดท้ายตามด้วยการชดเชยคาร์บอน (Compensate) (2) การที่จะบริหารจัดการลดคาร์บอนอย่างยั่งยืนต้องมีทั้ง Speed และ Scale ซึ่งจำเป็นต้องดำเนินการในสิ่งเหล่านี้ไปพร้อมกัน คือ (2.1) มาตราฐานการขึ้นทะเบียนคาร์บอนเครดิตที่เทียบเท่าสากล (2.2) ตลาดการซื้อขายคาร์บอนเครดิตทั้งในประเทศ และต่างประเทศ (2.3) ระบบการจัดเก็บภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) หรือ ETS (Emission Trading System) นำเงินภาษีที่ได้ไปใช้ในการวิจัยเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก สนับสนุนการลงทุนในโครงการลดคาร์บอน รวมทั้งช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ (4) การสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการลงทุนที่ได้กล่าวมาแล้ว (5) สำหรับภาคการเกษตรนอกเหนือจากการปลูกป่า ศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพในการปลูกข้าว และการทำ carbon farming สำหรับเกษตรกรรายย่อย”

อีกส่วนสำคัญของงาน Shell Forum 2022 คือช่วง “The Change Makers” ซึ่งเป็นการเสวนาในหัวข้อ “All Roads Lead to Decarbonization” ที่ได้ผู้เชี่ยวชาญจากหลายภาคส่วนมาแบ่งปันเรื่องราวในการลดคาร์บอน โดย ดร.เจน ชาญณรงค์ ประธานชมรมผู้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล ได้กล่าวถึงบทบาทของชมรมฯ ในการศึกษาการเกิดไฟป่าในตำบลแม่ปิง อมก๋อย แม่ตื่น จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีพื้นที่เผาไหม้ซ้ำซากราว 10 ล้านไร่ เป็นป่า 6.5 ล้านไร่ ก่อให้เกิดปัญหาฝุ่น PM2.5 ซึ่งเกิดจากการขาดความรู้ ความเข้าใจในการทำการเกษตร และการจัดการขยะทางชีวภาพ โดยสามารถแก้ไขได้ด้วยการให้ความรู้ ความเข้าใจกับชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ในพื้นที่เกี่ยวกับกลไกธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้อีกทาง ขณะที่นางสาวโศภชา ดำรงปิยวุฒิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กันกุล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) เป็นตัวแทนภาคเอกชนที่พยายามนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อลดคาร์บอนในการผลิตพลังงานอย่างยั่งยืนด้วยการเพิ่มอัตราส่วนการผลิตพลังงานสะอาดในระบบโครงข่ายไฟฟ้า โดยบริษัทฯ ตั้งเป้าที่จะผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ให้ได้รวม 1,000 เมกะวัตต์ ภายในปี พ.ศ. 2567 พร้อมย้ำว่าประเทศจะขับเคลื่อนไปสู่การใช้พลังงานสีเขียวได้ด้วยการผสานกันระหว่างการลงทุนด้านเทคโนโลยี การผ่อนปรนระเบียบข้อบังคับจากภาครัฐ การส่งเสริมอีโคซิสเต็มแบบดิจิทัล และการสนับสนุนด้านเงินลงทุน เช่นเดียวกับ รศ.ดร.ยศพงษ์ ลออนวล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาความยั่งยืน มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี และนายกกิตติมศักดิ์ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) ได้พูดถึงกระแสรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่กำลังมาแรงในปัจจุบัน ซึ่งหลายคนมองว่าช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์บนท้องถนนได้ไม่น้อย แต่เมื่อมองครบถ้วนทุกกระบวนการแล้ว กระบวนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้ายังมีการผลิตคาร์บอนมากกว่ารถเครื่องยนต์สันดาป ซึ่งต้องอาศัยการพัฒนาด้านเทคโนโลยีต่อไป อย่างไรก็ตามมองว่ายังมีโอกาสสำหรับบริษัทขนาดเล็กของไทยในการเติบโตในตลาดนี้หากได้รับการสนับสนุน โดยต้องอาศัยภาครัฐในการออกกฎระเบียบและให้การอุดหนุน ส่วนภาควิชาการก็สนับสนุนผ่านการวิจัยและพัฒนา ภาคเอกชนสามารถช่วยได้ด้วยการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ รวมถึงสร้างความตระหนักรู้ในภาคประชาชน สุดท้ายกับนางสาวอมินตา เพิ่มพูนวิวัฒน์ ผู้แทนเยาวชนแห่งประเทศไทยที่เข้าร่วมงาน Youth4Climate ที่ประเทศอิตาลี ในเดือนกันยายนปีที่แล้ว ซึ่งได้แบ่งปันแนวคิดในการให้การศึกษาและความเข้าใจแก่เยาวชนด้อยโอกาสในประเด็นความยั่งยืน โดยหลังจากนั้นได้ก่อตั้งโครงการจิตอาสาพี่สอนน้อง (Youth Mentorship Project) เพื่อลดช่องว่างทางสังคม พร้อมปลุกพลังและสร้างความตระหนักรู้ถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมให้ทุกคนร่วมมือกันแก้ไขปัญหานี้อย่างยั่งยืน 

นอกจากนี้ในช่วงสุดท้ายของงานซึ่งใช้ชื่อว่า “The Transformers” ซึ่งเปิดโอกาสให้บริษัทและองค์กรที่สร้างความเปลี่ยนแปลงได้สำเร็จมาร่วมบรรยาย เริ่มด้วย มร. คาซีม ข่าน ผู้จัดการทั่วไป เชลล์เอเชีย-แปซิฟิค Nature-based Solutions ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเป้าหมายการลดการปล่อยคาร์บอนสุทธิให้เป็นศูนย์ของเชลล์ด้วยการพึ่งพิงธรรมชาติและระบบนิเวศ เพื่อให้ธรรมชาติช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ป้องกันการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และช่วยสร้างสมดุลให้กับระบบนิเวศโดยรอบ โดยประเทศไทยมีพื้นที่ธรรมชาติที่ช่วยกักเก็บคาร์บอนได้และอาจพัฒนาได้จากการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน (Blue Carbon) การควบคุมการเผาป่า และเกษตรกรรมที่มีการจัดการมากขึ้นหรือใช้ระบบวนเกษตร นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ได้พูดถึงเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยที่ได้เสนอไว้กับประชาคมโลกว่าจะลดลง 40% ในปีพ.ศ. 2573 และจะเข้าสู่สังคมเป็นกลางทางคาร์บอนในปี พ.ศ. 2593 โดยที่มีเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี พ.ศ. 2608 ทั้งนี้ได้มีการอธิบายภาพจำลองของสถานการณ์ฯ เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายในแต่ละช่วง สำหรับประเทศไทยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังอยู่บนพื้นฐานของความสมัครใจ (Voluntary Carbon Market) โดยปัจจุบันมีโครงการที่จดทะเบียนเข้าร่วมแล้วกว่า 100 โครงการ องค์กรฯ มีเป้าหมายยกระดับมาตรฐานโครงการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ และ ขับเคลื่อนให้ไทยเป็นศูนย์กลางการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในระดับอาเซียน ขณะเดียวกันเพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทยมีความเป็นกลางทางคาร์บอนได้สำเร็จ จึงได้จัดตั้งเครือข่าย Carbon Neutral Network ขึ้นซึ่งปัจจุบันมีสมาชิก 256 องค์กรเข้าร่วมเป็นสมาชิก ผ่านความร่วมมือของ Climate Action Leading Organizations และ Climate Action Innovator โดยการจับมือแลกเปลี่ยนซื้อขายคาร์บอนเครดิตผ่าน Thailand Carbon Credit Exchange เนื่องจากต้นทุนในการลดก๊าซเรือนกระจกของแต่ละมาตรการไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงต้องมีการกำหนดราคาเพื่อการซื้อขายแลกเปลี่ยนที่ยอมรับได้ นอกจากนี้ทางองค์กรฯ ยังมีแผนยกระดับโครงการ Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER เพื่อร่วมขับเคลื่อนตลาดคาร์บอนในไทยให้บรรลุเป้าหมายไปด้วยกัน และมร.แอนดรูว์ โฮวาร์ด ผู้อำนวยการอาวุโสด้านนโยบายและกลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ จากเวอร์ร่า (Verra) ซึ่งเป็นองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมที่ไม่แสวงหาผลกำไรในประเทศอเมริกา ได้ร่วมให้ข้อมูลเกี่ยวกับคาร์บอนเครดิตและตลาดคาร์บอนในเวทีโลก พร้อมให้คำแนะนำว่าการจัดตั้งตลาดคาร์บอนควรทำร่วมกับหน่วยงานที่ได้มาตรฐาน โดยภาครัฐควรเริ่มจากการตั้งเป้าในการลดการปล่อยคาร์บอนและวิธีการที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายในประเทศก่อน หลังจากนั้นจึงให้ความช่วยเหลือกับโครงการอื่นๆ

เชลล์ประเทศไทย ได้เริ่มจัดงาน Shell Forum ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เพื่อสนับสนุนความร่วมมือระหว่างองค์กรจากหลากหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคสังคม โดยมุ่งหวังให้เป็นเวทีพูดคุยและสร้างแนวร่วมปฏิบัติ เพื่อกระตุ้นให้คนในสังคมตระหนักถึงผลกระทบของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคประชาชน พร้อมเชิญชวนให้ทุกภาคส่วนมาร่วมมือกันสนับสนุนให้ประเทศไทยเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป

Shell Forum 2022
Shell Forum 2022

นายปนันท์ ประจวบเหมาะ ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด, นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, ศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และผู้นำทางธุรกิจชั้นนำของไทยที่ให้เกียรติร่วมงานสัมมนา Shell Forum 2022

Shell Forum 2022
Shell Forum 2022
Shell Forum 2022

การบรรยายในช่วง “The Transformers” โดย มร. คาซีม ข่าน ผู้จัดการทั่วไป เชลล์เอเชีย-แปซิฟิค Nature-based Solutions, นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก และมร.แอนดรูว์ โฮวาร์ด ผู้อำนวยการอาวุโสด้านนโยบายและกลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ จากเวอร์ร่า (Verra) 

Shell Forum 2022
Shell Forum 2022
placeholder

บรรยากาศภายในงานสัมมนา Shell Forum 2022

ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ

สุดารัตน์ พีตกานนท์
ผู้จัดการสื่อสารองค์กร
บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด
โทรศัพท์ +662 262 7839
อีเมล์: sudarat.peetakanont@shell.com

แก้วตา เกษบึงกาฬ
ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน สแตรทิจีส์ ประเทศไทย
อีเมล hkshellthailand@hkstrategies.com

Cautionary note

The companies in which Shell plc directly and indirectly owns investments are separate legal entities. In this announcement, “Shell”, “Shell Group” and “Group” are sometimes used for convenience where references are made to Shell plc and its subsidiaries in general. Likewise, the words “we”, “us” and “our” are also used to refer to Shell plc and its subsidiaries in general or to those who work for them. These terms are also used where no useful purpose is served by identifying the particular entity or entities. ‘‘Subsidiaries’’, “Shell subsidiaries” and “Shell companies” as used in this announcement refer to entities over which Shell plc either directly or indirectly has control. Entities and unincorporated arrangements over which Shell has joint control are generally referred to as “joint ventures” and “joint operations”, respectively. “Joint ventures” and “joint operations” are collectively referred to as “joint arrangements”. Entities over which Shell has significant influence but neither control nor joint control are referred to as “associates”. The term “Shell interest” is used for convenience to indicate the direct and/or indirect ownership interest held by Shell in an entity or unincorporated joint arrangement, after exclusion of all third-party interest.

Forward-Looking Statements

This announcement contains forward-looking statements (within the meaning of the U.S. Private Securities Litigation Reform Act of 1995) concerning the financial condition, results of operations and businesses of Shell. All statements other than statements of historical fact are, or may be deemed to be, forward-looking statements. Forward-looking statements are statements of future expectations that are based on management’s current expectations and assumptions and involve known and unknown risks and uncertainties that could cause actual results, performance or events to differ materially from those expressed or implied in these statements. Forward-looking statements include, among other things, statements concerning the potential exposure of Shell to market risks and statements expressing management’s expectations, beliefs, estimates, forecasts, projections and assumptions. These forward-looking statements are identified by their use of terms and phrases such as “aim”, “ambition”, ‘‘anticipate’’, ‘‘believe’’, ‘‘could’’, ‘‘estimate’’, ‘‘expect’’, ‘‘goals’’, ‘‘intend’’, ‘‘may’’, “milestones”, ‘‘objectives’’, ‘‘outlook’’, ‘‘plan’’, ‘‘probably’’, ‘‘project’’, ‘‘risks’’, “schedule”, ‘‘seek’’, ‘‘should’’, ‘‘target’’, ‘‘will’’ and similar terms and phrases. There are a number of factors that could affect the future operations of Shell and could cause those results to differ materially from those expressed in the forward-looking statements included in this announcement, including (without limitation): (a) price fluctuations in crude oil and natural gas; (b) changes in demand for Shell’s products; (c) currency fluctuations; (d) drilling and production results; (e) reserves estimates; (f) loss of market share and industry competition; (g) environmental and physical risks; (h) risks associated with the identification of suitable potential acquisition properties and targets, and successful negotiation and completion of such transactions; (i) the risk of doing business in developing countries and countries subject to international sanctions; (j) legislative, judicial, fiscal and regulatory developments including regulatory measures addressing climate change; (k) economic and financial market conditions in various countries and regions; (l) political risks, including the risks of expropriation and renegotiation of the terms of contracts with governmental entities, delays or advancements in the approval of projects and delays in the reimbursement for shared costs; (m) risks associated with the impact of pandemics, such as the COVID-19 (coronavirus) outbreak; and (n) changes in trading conditions. No assurance is provided that future dividend payments will match or exceed previous dividend payments. All forward-looking statements contained in this announcement are expressly qualified in their entirety by the cautionary statements contained or referred to in this section. Readers should not place undue reliance on forward-looking statements. Additional risk factors that may affect future results are contained in Shell plc’s Form 20-F for the year ended December 31, 2021 (available at www.shell.com/investor and www.sec.gov). These risk factors also expressly qualify all forward-looking statements contained in this announcement and should be considered by the reader.  Each forward-looking statement speaks only as of the date of this announcement, August 18, 2022. Neither Shell plc nor any of its subsidiaries undertake any obligation to publicly update or revise any forward-looking statement as a result of new information, future events or other information. In light of these risks, results could differ materially from those stated, implied or inferred from the forward-looking statements contained in this announcement.

Shell’s net carbon footprint

Also, in this announcement we may refer to Shell’s “Net Carbon Footprint” or “Net Carbon Intensity”, which include Shell’s carbon emissions from the production of our energy products, our suppliers’ carbon emissions in supplying energy for that production and our customers’ carbon emissions associated with their use of the energy products we sell. Shell only controls its own emissions. The use of the term Shell’s “Net Carbon Footprint” or “Net Carbon Intensity” are for convenience only and not intended to suggest these emissions are those of Shell plc or its subsidiaries.

Shell’s net-Zero Emissions Target

Shell’s operating plan, outlook and budgets are forecasted for a ten-year period and are updated every year. They reflect the current economic environment and what we can reasonably expect to see over the next ten years. Accordingly, they reflect our Scope 1, Scope 2 and Net Carbon Footprint (NCF) targets over the next ten years. However, Shell’s operating plans cannot reflect our 2050 net-zero emissions target and 2035 NCF target, as these targets are currently outside our planning period. In the future, as society moves towards net-zero emissions, we expect Shell’s operating plans to reflect this movement. However, if society is not net zero in 2050, as of today, there would be significant risk that Shell may not meet this target.

Forward Looking Non-GAAP measures

This announcement may contain certain forward-looking non-GAAP measures such as cash capital expenditure and divestments. We are unable to provide a reconciliation of these forward-looking Non-GAAP measures to the most comparable GAAP financial measures because certain information needed to reconcile those Non-GAAP measures to the most comparable GAAP financial measures is dependent on future events some of which are outside the control of Shell, such as oil and gas prices, interest rates and exchange rates. Moreover, estimating such GAAP measures with the required precision necessary to provide a meaningful reconciliation is extremely difficult and could not be accomplished without unreasonable effort. Non-GAAP measures in respect of future periods which cannot be reconciled to the most comparable GAAP financial measure are calculated in a manner which is consistent with the accounting policies applied in Shell plc’s consolidated financial statements.

The contents of websites referred to in this announcement do not form part of this announcement.

We may have used certain terms, such as resources, in this announcement that the United States Securities and Exchange Commission (SEC) strictly prohibits us from including in our filings with the SEC. Investors are urged to consider closely the disclosure in our Form 20-F, File No 1-32575, available on the SEC website www.sec.gov.