นายปนันท์ ประจวบเหมาะ ประธานกรรมการบริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “ด้วยเจตนารมณ์ เติมสุขให้ทุกชีวิต เชลล์เชื่อเสมอว่าความสุขและความภูมิใจขององค์กรเกิดจากการมีส่วนช่วยในการมอบโอกาสให้แก่ผู้อื่น ซึ่งนอกเหนือจากนโยบายในการส่งมอบพลังงานสะอาด เพิ่มประสิทธิภาพ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เชลล์เชื่อว่าการสนับสนุนศักยภาพและทักษะบุคลากรนั้น ถือเป็นการมอบโอกาส ยกระดับคุณภาพชีวิต และลดความเหลื่อมล้ำในสังคม การมอบทุนการศีกษาในครั้งนี้ยังเป็นการผลักดันและสนับสนุนให้ผลงานของนักศึกษาสามารถนำมาพัฒนาเพื่อต่อยอดให้เกิดประโยชน์ต่อภาคธุรกิจ ภาคสังคม รวมถึงประเทศชาติที่จะเติบโตอย่างยั่งยืน”

ในปีนี้ ทุนสนับสนุนการวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มูลนิธิการศึกษาเชล 100 ปี ได้มอบให้กับนักศึกษาจำนวน 16 ทุน จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี โดยสนับสนุนทุนการวิจัยระดับปริญญาเอกเรื่องละไม่เกิน 200,000 บาท และระดับปริญญาโทเรื่องละไม่เกิน 100,000 บาท รวมทุนสนับสนุนทั้งสิ้นมูลค่ากว่า 1,500,000 บาท

นายนรพนธ์ วิเชียรสาร นักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า “ผลงานวิจัย ‘การสลายคอเลสเตอรอลในหลอดเลือดโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีพลาสมา’ เป็นการศึกษาการพัฒนาระบบพลาสมาเพื่อสร้างอนุมูลอิสระอนุพันธ์ออกซิเจนที่ว่องไวและศึกษาความยาวของโครโมโซมชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการสร้างดุลสมการรีดอกซ์ในเซลล์ ซึ่งหากการศึกษาการสลายคอเลสเตอรอลในหลอดเลือดผ่านการวิเคราะห์และพัฒนาระบบพลาสมานี้สามารถพัฒนาและทำการวิจัยออกมาได้สำเร็จ ก็อาจนำมาซึ่งการยืดอายุของมนุษย์ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้นานขึ้นได้ การได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากเชลล์ เป็นเสมือนหนึ่งกำลังใจสำคัญในการเดินหน้าและพัฒนาผลงานของตัวเอง อีกทั้งยังช่วยสร้างความมั่นใจว่าผลงานวิจัยที่เรากำลังทำอยู่นั้นได้ดำเนินมาอย่างถูกทาง และมีความสามารถที่จะสร้างประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติได้จริงๆ”

ด้านนางสาวอริสรา เบ็ญหมัด นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาเคมีประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า “ผลงานวิจัย ‘เม็ดเชื้อเพลิงอัด น้ำมันชีวภาพและถ่านชีวภาพจากชานอ้อย’ เกิดจากการเล็งเห็นความสำคัญของชานอ้อยหลังหีบคั้นน้ำ ที่ไม่มีมูลค่าและเป็นหนึ่งในปัญหาขยะในภาคใต้ โดยการวิจัยนี้ได้มีการนำเอากระบวนการเคมีความร้อนอย่าง ไพโรไลซิส มาประยุกต์ใช้ในการต่อยอดชานอ้อยให้เป็นเม็ดเชื้อเพลิงอัด น้ำมันชีวภาพและถ่านชีวภาพ เนื่องจากสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย และเป็นการใช้ประโยชน์จากชีวมวลได้สูงสุด ซึ่งหากงานวิจัยนี้เป็นรูปธรรม เม็ดเชื้อเพลิงอัด น้ำมันชีวภาพและถ่านชีวภาพจากชานอ้อยจะเป็นอีกหนึ่งพลังงานการเผาไหม้ที่สะอาดและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ที่น่าสนใจ สะดวกแก่การขนส่ง และสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย ต้องขอขอบคุณเชลล์ที่เล็งเห็นความสำคัญและช่วยสนับสนุนงานวิจัยนี้ ในฐานะเจ้าของงานวิจัย จะมุ่งมั่นพัฒนาผลงานชิ้นนี้ให้สามารถนำมาใช้ได้จริง และสร้างประโยชน์ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป”

สำหรับ 16 ผลงานวิจัยที่ได้รับทุนในครั้งนี้ได้ผ่านการพิจารณาคัดเลือกโครงการวิจัยตามหลักเกณฑ์ 4 ประการ ได้แก่ โอกาสของผลงานที่ก่อให้เกิดองค์ความรู้หรือนวัตกรรมใหม่ ผลงานสามารถนำไปเผยแพร่และตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติได้ อีกทั้งยังมีโอกาสในการประสบผลสำเร็จในระยะเวลาที่กำหนด และสามารถสร้างผลกระทบต่อวงการวิชาการในเชิงพาณิชย์และในเชิงสังคมได้อย่างประสบความสำเร็จ

สำหรับผู้ที่สนใจรับทุนการศึกษาจาก มูลนิธิการศึกษาเชล 100 ปี สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารได้ที่ กองกิจการนักศึกษาของทุกมหาวิทยาลัย หรือ ที่เว็บไซต์ของ กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม www.mhesi.go.th.

ภาคผนวก: รายชื่อนักศึกษาที่ได้รับทุน

นักศึกษาระดับปริญญาเอก

1. นางสาวโชติกา โกศัลวิจิตร จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
2. นายกฤษฎา มูลป่า จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
3. นายนรพนธ์ วิเชียรสาร จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

นักศึกษาระดับปริญญาโท

4. นางสาวเยาวเรศ ไม้เกตุ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ
5. นางสาวอริสรา เบ็ญหมัด จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
6. นางสาวรจนา นพตะนา จากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
7. นางสาวจินต์จุฑา สายสาคเรศ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
8. นางสาวกาญจนา ทายะบวร จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี
9. นางสาวศุจิพร ประสพทรัพย์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี
10. นางสาวปริตรา มั่นเหมาะ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี
11. นางสาวนฤภร ตระกูลเดชะ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี
12. นางสาวศุณัฐชา สลัดทุกข์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
13. นางสาวมาริสา มาแตง จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี
14. นางสาวรสสุคนธ์ กสิกิจวรกุล จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี
15. นายฉัตรชัย มีนา จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี
16. นายวิศขุกร เดชฤดี จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี

ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ:

สุดารัตน์ พีตกานนท์ 
ผู้จัดการ
ฝ่ายสื่อสารองค์กร

ฐิติภา ลักษณพิสุทธิ์ 
ผู้จัดการใหญ่
ฝ่ายสื่อสารองค์กร
บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด
โทรศัพท์ +662 262 7839

ปริตต์ กาศยปนันทน์
ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน สแตรทิจีส์ ประเทศไทย
โทรศัพท์: +662 627 3501 ต่อ 129
อีเมล: PKasayapanunth@hkstrategies.com

Cautionary Note

The companies in which Royal Dutch Shell plc directly and indirectly owns investments are separate legal entities. In this press release “Shell”, “Shell group” and “Royal Dutch Shell” are sometimes used for convenience where references are made to Royal Dutch Shell plc and its subsidiaries in general. Likewise, the words “we”, “us” and “our” are also used to refer to Royal Dutch Shell plc and subsidiaries in general or to those who work for them. These terms are also used where no useful purpose is served by identifying the particular entity or entities. ‘‘Subsidiaries’’, “Shell subsidiaries” and “Shell companies” as used in this press release refer to entities over which Royal Dutch Shell plc either directly or indirectly has control. Entities and unincorporated arrangements over which Shell has joint control are generally referred to as “joint ventures” and “joint operations”, respectively. Entities over which Shell has significant influence but neither control nor joint control are referred to as “associates”. The term “Shell interest” is used for convenience to indicate the direct and/or indirect ownership interest held by Shell in an entity or unincorporated joint arrangement, after exclusion of all third-party interest.

This press release contains forward-looking statements (within the meaning of the U.S. Private Securities Litigation Reform Act of 1995) concerning the financial condition, results of operations and businesses of Royal Dutch Shell. All statements other than statements of historical fact are, or may be deemed to be, forward-looking statements. Forward-looking statements are statements of future expectations that are based on management’s current expectations and assumptions and involve known and unknown risks and uncertainties that could cause actual results, performance or events to differ materially from those expressed or implied in these statements. Forward-looking statements include, among other things, statements concerning the potential exposure of Royal Dutch Shell to market risks and statements expressing management’s expectations, beliefs, estimates, forecasts, projections and assumptions. These forward-looking statements are identified by their use of terms and phrases such as “aim”, “ambition’, ‘‘anticipate’’, ‘‘believe’’, ‘‘could’’, ‘‘estimate’’, ‘‘expect’’, ‘‘goals’’, ‘‘intend’’, ‘‘may’’, ‘‘objectives’’, ‘‘outlook’’, ‘‘plan’’, ‘‘probably’’, ‘‘project’’, ‘‘risks’’, “schedule”, ‘‘seek’’, ‘‘should’’, ‘‘target’’, ‘‘will’’ and similar terms and phrases. There are a number of factors that could affect the future operations of Royal Dutch Shell and could cause those results to differ materially from those expressed in the forward-looking statements included in this press release, including (without limitation): (a) price fluctuations in crude oil and natural gas; (b) changes in demand for Shell’s products; (c) currency fluctuations; (d) drilling and production results; (e) reserves estimates; (f) loss of market share and industry competition; (g) environmental and physical risks; (h) risks associated with the identification of suitable potential acquisition properties and targets, and successful negotiation and completion of such transactions; (i) the risk of doing business in developing countries and countries subject to international sanctions; (j) legislative, fiscal and regulatory developments including regulatory measures addressing climate change; (k) economic and financial market conditions in various countries and regions; (l) political risks, including the risks of expropriation and renegotiation of the terms of contracts with governmental entities, delays or advancements in the approval of projects and delays in the reimbursement for shared costs; and (m) changes in trading conditions. No assurance is provided that future dividend payments will match or exceed previous dividend payments. All forward-looking statements contained in this press release are expressly qualified in their entirety by the cautionary statements contained or referred to in this section. Readers should not place undue reliance on forward-looking statements. Additional risk factors that may affect future results are contained in Royal Dutch Shell’s 20-F for the year ended December 31, 2019 (available at www.shell.com/investor and www.sec.gov ). These risk factors also expressly qualify all forward looking statements contained in this press release and should be considered by the reader. Each forward-looking statement speaks only as of the date of this press release, January 09, 2020. Neither Royal Dutch Shell plc nor any of its subsidiaries undertake any obligation to publicly update or revise any forward-looking statement as a result of new information, future events or other information. In light of these risks, results could differ materially from those stated, implied or inferred from the forward-looking statements contained in this press release.

We may have used certain terms, such as resources, in this press release that United States Securities and Exchange Commission (SEC) strictly prohibits us from including in our filings with the SEC. U.S. Investors are urged to consider closely the disclosure in our Form 20-F, File No 1-32575, available on the SEC website www.sec.gov