มองปัญหามลพิษทางอากาศในเอเซีย

มองปัญหามลพิษทางอากาศในเอเซีย

ในทุกปี ประชากรทั่วโลกถึง 7 ล้านคนโดยจำนวน 4 ล้านคนเป็นชาวเอเชีย เสียชีวิตก่อนวัยอันควร เนื่องจากมลพิษทางอากาศ นับเป็นตัวเลขที่สูงมาก มลพิษทางอากาศยังเป็นสาเหตุหลักทางธรรมชาติที่ส่งผลให้เกิดโรคอื่นๆ ด้วย และด้วยผลกระทบในวงกว้างนี้เอง องค์การสหประชาชาติ จึงได้เรียกร้องให้ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญกับการปัญหามลพิษทางอากาศ เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก ประจำปีนี้

อาจกล่าวได้ว่า รัฐบาลของประเทศต่างๆ ในเอเชียไม่ได้นิ่งนอนใจ และพยายามแก้ปัญหานี้ เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศแถบเอเชียกำลังเติบโตตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดการขยายตัวของเมืองและความต้องการพลังงานที่สูงขึ้น ตัวอย่างของความพยายามของหน่วยงานภาครัฐเช่น แผนปฏิบัติการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศของรัฐบาลจีน ที่มีการตั้งเป้าคุณภาพอากาศในเมืองสำคัญในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยพบว่าวิธีการนี้สามารถลดปริมาณมลพิษอันตรายในบริเวณเมืองอุตสาหกรรมหลักในภูมิภาคต่าง เช่น ปักกิ่ง-เทียนจิน-เหอเป่ย รวมถึงพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำ เช่นสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเพิร์ลและแม่น้ำแยงซี

อย่างไรก็ดี สถานการณ์มลพิษทางอากาศในภูมิภาคเอเซียโดยรวมยังไม่ดีขึ้นนัก และอาจแย่ลงในปีหน้าเนื่องจากเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้มีแนวโน้มที่จะมีขนาดใหญ่กว่าเศรษฐกิจของทั่วโลกรวมกัน

ทั้งนี้ ประเทศในทวีปเอเซียสามารถบรรเทาปัญหาเหล่านี้ได้ด้วยเร่งการเปลี่ยนไปใช้พลังงานทดแทน พร้อมทั้งใช้ก๊าซธรรมชาติ และควบคุมจำกัดการพึ่งพลังงานจากถ่านหินซึ่งปล่อยมลพิษทางอากาศที่อันตราย เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ สสารฝุ่นละออง และไนโตรเจนออกไซด์

การลดมลพิษในอากาศนับเป็นภารกิจอันใหญ่หลวง ซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยภาครัฐบาลและผู้วางนโยบายเพียงฝ่ายเดียว แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมและเมือง รวมถึงภาคประชาชนด้วย

วิธีการแก้ไขปัญหาที่แตกต่าง

หนึ่งในตัวอย่างการแก้ปัญหาคือ การใช้เครือข่าย​เมืองอัจฉริยะ (Smart Cities Network) ซึ่งริเริ่มโดยประชาคมอาเซียน เพื่อช่วยเมืองต้นแบบทั้ง 26 เมือง ในการชี้ให้เห็นถึงปัญหาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการขยายเมืองอย่างรวดเร็ว

ตัวอย่างของแผนการคือการร่วมมือกันระหว่างนิคมอุตสาหกรรมชลบุรี ซึ่งเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวและธุรกิจ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงเทพมหานคร ร่วมมือกับเมืองโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น ในการพัฒนา โครงข่ายเมืองที่ยั่งยืนด้วยการใช้พลังงานทดแทนสำหรับผลิตไฟฟ้า

ทั้งนี้ ประชาคมอาเซียนจะต้องจัดการและเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากคาดว่าในปี พ.ศ. 2573 ประชาชนกว่า 90 ล้านคนจะย้ายไปตั้งถิ่นฐานในเมือง โดยอาเซียนได้ตั้งเป้าหมายสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนเป็น 23% ในปี พ.ศ. 2568 หรือเพิ่มขึ้นถึง 250% จากปี พ.ศ. 2557

เกี่ยวกับเรื่องก๊าซ

เกี่ยวกับเรื่องก๊าซ

การใช้พลังงานทดแทนแก้ไขปัญหาได้เพียงบางส่วนเท่านั้น เพราะส่วนใหญ่ใช้พลังงานทดแทนในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งคิดเป็น 20% ของการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายของทั่วโลก

อุตสาหกรรมอย่างซีเมนต์ เหล็ก พลาสติก การขนย้ายสินค้าด้วยรถบรรทุก ทางเรือ และทางอากาศ ยังไม่สามารถเปลี่ยนมาใช้พลังงานฟ้าได้ เพราะยังต้องใช้ไฮโดรคาร์บอนอยู่

ดังนั้น ก๊าซธรรมชาติจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญ พราะก๊าซธรรมชาติปล่อยมลพิษทางอากาศน้อยกว่าถ่านหินถึง 10 เท่า เมื่อนำมาใช้ผลิตไฟฟ้า ซึ่งหลายประเทศในเอเชียก็รับทราบเกี่ยวกับข้อมูลนี้

ถึงแม้ว่าประเทศจีนจะเป็นประเทศที่ใช้ถ่านหินมากถึงครึ่งหนึ่งของปริมาณการใช้ถ่านหินทั่วโลก แต่ กรุงปักกิ่ง ก็ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนมาใช้ก๊าซสำหรับการทำความร้อน ทำให้คุณภาพอากาศดีขึ้นมากกว่า 70% ในช่วงเวลา 3 ปี ที่ผ่านมา

นอกจากนี้ ยังมีสัญญาณที่ดีจากประเทศอินเดียอีกด้วย จากแผนที่จะลดการทำงานของโรงผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินและใช้ก๊าซธรรมชาติภายในปี พ.ศ. 2567 ในปีที่ผ่านมา สัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ของประเทศอินเดียคิดเป็น 50% ของพลังงานผสมผสานทั้งหมดในประเทศ และคาดว่าความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติในปีนี้จะสูงขึ้น 9–11% โดยมีภาคอุตสาหกรรมขับเคลื่อนความต้องการที่เพิ่มขึ้นนี้อในปัจจุบัน ประเทศอินเดียมีคลังก๊าซธรรมชาติเหลวทั้งหมด 4 แห่ง และวางแผนขยายเพิ่มจำนวนคลังก๊าซธรรมชาติเหลวเป็น 11 แห่งภายใน 7 ปีข้างหน้านี้ โดยคาดว่าสามารถเริ่มดำเนินการคลังก๊าซธรรมชาติเหลว 2 แห่ง ได้ในปีนี้

ประเทศไทยก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่มุ่งหน้ารักษาสัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติในพลังงานผสมผสานทั้งหมดของประเทศให้อยู่ที่ 50% ด้วยการลงทุนในท่อขนส่งและคลังก๊าซธรรมชาติเหลว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนพลังงานแห่งชาติใน ระยะเวลา 5 ปี

ภารกิจที่ต้องดำเนินการเพิ่มเติม

ภารกิจที่ต้องดำเนินการเพิ่มเติม

ก๊าซนับเป็นครึ่งหนึ่งของผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่เชลล์ผลิต และเป็นแกนหลักของกลยุทธ์ในการผลิตพลังงานสะอาดยิ่งขึ้นในปริมาณที่เพิ่มขึ้นให้แก่โลก เราตระหนักดีถึงคุณประโยชน์ที่ได้รับ อย่างไรก็ดี เชลล์ จะต้องทำงานให้หนักขึ้น เพื่อให้ก๊าซเป็นทางเลือกที่น่าสนใจของทุกประเทศทั่วโลก

การทำงานเพิ่มขึ้นยังรวมถึงการบริหารจัดการฟุตพริ้นท์ด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งครอบคลุมถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างก๊าซมีเทน โดยเมื่อปีที่แล้ว เชลล์ ประกาศเป้าหมายในการควบคุมความเข้มข้นการปล่อยก๊าซมีเทนสำหรับน้ำมันและก๊าซให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 0.2% ภายในปี พ.ศ. 2568

นอกจากนี้ เชลล์ ยังต้องทำให้ราคาก๊าซเข้าถึงได้ด้วย โดยการลดต้นทุนตลอดทั้งห่วงโซ่ธุรกิจ ทั้งจากผลิตภัณฑ์ของเชลล์ ผู้ขุดเจาะ ผู้ผลิตจัดหาอุปกรณ์ และการขนส่ง โดยนับเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากทั่วโลกเริ่มเห็นถึงประโยชน์ของก๊าซมากขึ้น

เมื่อปีที่แล้ว ความต้องการก๊าซของทั่วโลกเพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็วยิ่งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 โดยสัดส่วนความต้องการก๊าซธรรมชาติคิดเป็นประมาณเกือบ 45% ของความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นทั้งหมด ซึ่งถือเป็นการเพิ่มขึ้นที่สูงที่สุดของเชื้อเพลิงทุกประเภท

อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของความต้องการก๊าซธรรมชาตินี้ยังไม่เพียงพอที่จะทดแทนความต้องการใช้ถ่านหิน โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเซียที่ในทุกๆ ปี เมืองต่างๆ ในทวีปเอเซียดึงดูดผู้ที่ต้องการวิถีชีวิตที่ดีขึ้นกว่า 44 ล้านคน ความเจริญรุ่งเรืองนี้มาพร้อมกับสิ่งของเครื่องใช้หรูหราฟุ่มเฟือย มากมาย ทั้งบ้านใหม่ รถใหม่ และเครื่องมืออุปกรณ์ใหม่ ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่คนในเอเซียต้องการ อย่างไรก็ตาม ความเจริญรุ่งเรืองนี้จะไม่ยั่งยืนหากประชากรไม่มีสุขภาพที่ดี ดังนั้น อากาศที่สะอาดจึงไม่จัดเป็นความหรูหราฟุ่มเฟือย ทว่านับเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อชีวิต