มาตรการรับมือของเชลล์ประเทศไทยต่อสถานการณ์ไวรัส COVID-19

Summary | Updated, มิ.ย. 23, 2020 09:30

#shellcare ปลอดภัยไปด้วยกัน: 5 หลักบริหารจัดการในช่วงวิกฤตโควิด-19 ของเชลล์ ประเทศไทย

ในวันที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั่วโลกทะยานไปเกินหลักล้าน การแพร่ระบาดส่งผลกระทบโดยตรงกับการใช้ชีวิตประจำวัน จากมาตรการต่างๆ ตั้งแต่การล็อคดาวน์ประเทศ ไปจนกระทั่งการรณรงค์การรักษาระยะห่างของผู้คน ซึ่งส่งผลกระทบทั้งในรูปแบบการใช้ชีวิต การทำงาน และผลกระทบกับระบบเศรษฐกิจทั้งระบบอีกด้วย

องค์การสหประชาชาติเรียกการระบาดครั้งนี้ว่าเป็นวิกฤตที่ร้ายแรงที่สุดในรอบ 75 ปี สำหรับในภาคธุรกิจ สิ่งนี้เป็นภาวะที่ไม่มีใครเคยคาดการณ์มาก่อน ทำให้ในช่วงที่ผ่านมา เราได้เห็นการการล่มสลายในระดับติดจรวด ตั้งแต่การปลดพนักงานไปจนถึงปิดกิจการ และขณะนี้ก็ยังไม่มีใครตอบได้ว่าวิกฤตครั้งนี้จะจบลงเมื่อใด

และนับตั้งแต่กระทรวงสาธารณสุขของไทย ได้ประกาศว่ามีผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 คนแรกในประเทศ เมื่อเกือบ 3 เดือนที่ผ่านมา เชลล์ ประเทศไทย ได้ติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด และได้เตรียมความพร้อมสำหรับการรับมือกับวิกฤตในครั้งนี้

การปรับตัวขององค์กรต่างๆ ในภาะวะวิกฤตนี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจ และจากนี้จะเป็นหลักบริหารจัดการในช่วงวิกฤตโควิด-19 ของเชลล์ ประเทศไทย ที่เน้นย้ำเรื่อง “ความปลอดภัย” ซึ่งอยู่ในวัฒนธรรมองค์กรของเชลล์ตลอดมา

“ปนันท์ ประจวบเหมาะ” ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ยังคงทำงานอย่างใกล้ชิดกับทีมผู้บริหารและทีมพนักงานที่ดูแลรับผิดชอบ BCP (Business Continuity Plan) ของเชลล์ และพนักงานทั้งที่สำนักงานใหญ่ และไซต์งานต่างๆ พร้อมเดินหน้าปฏิบัติตามคำแนะนำของศูนย์สุขภาพของเชลล์ (Shell Health) และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รวมไปถึงหน่วยงานภาครัฐ ภาคสังคม และภาคเอกชนต่างๆ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของพนักงาน ลูกค้า และคู่ค้าทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องทุกคนเป็นสำคัญ นอกจากนี้ เชลล์ ยังได้มีการวิเคราะห์กรณีศึกษาจากเชลล์ ประเทศจีน และประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อนำมาปรับใช้กับไทยทั้งในเชิงธุรกิจและการดูแลพนักงาน รวมไปถึง การสนับสนุนการทำงานจากบ้านสำหรับพนักงาน เพื่อให้การทำงานยังคงมีประสิทธิภาพเทียบเท่าการทำงานในสำนักงาน 

“ด้วยความห่วงใย เชลล์ได้เตรียมมาตรการรอบด้านเพื่อดูแลเรื่องสุขอนามัย และความปลอดภัยของพนักงาน ลูกค้า ตลอดจนทุกคนที่เราเกี่ยวข้อง อย่างดีที่สุด ควบคู่ไปกับการทำหน้าที่ในบทบาทของผู้ที่รับผิดชอบในการส่งมอบพลังงาน และผลิตภัณฑ์ที่จำเป็น อาทิ น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับรถบรรทุกและรถฉุกเฉิน น้ำมันหล่อลื่นสำหรับผู้ขับขี่ และธุรกิจต่างๆ รวมไปถึง ยางมะตอย เพื่อให้ภาคธุรกิจดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง และดีที่สุด ในทุกระยะของวิกฤตโควิดนี้ ด้วยเช่นกัน” ปนันท์กล่าว

และนี่คือ 5 หลักบริหารจัดการในช่วงวิกฤตโควิด-19 ของเชลล์ ประเทศไทย

1. ความปลอดภัยของทุกคนต้องมาอันดับหนึ่ง
“หลักสำคัญประการแรกคือ ทำอย่างไรให้ทุกคนปลอดภัยที่สุด” ปนันท์ ประจวบเหมาะ ประธานกรรมการ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด กล่าวถึงแนวคิดการบริหารจัดการ เพื่อรับมือกับโรคระบาดโควิด-19 ในภาวะวิกฤตเช่นนี้ การบริหารดูแลองค์กรในสถานการณ์เช่นนี้ เชลล์ได้กำหนดแนวทางการดูแลเรื่องความปลอดภัยอย่างชัดเจน เช่น การทำงานจากบ้าน เพื่อลดการแพร่เชื้อ มีเพียงพนักงานบางคนในบางสายงานที่มีความจำเป็นต้องเข้ามาที่สำนักงาน ซึ่งพนักงานเหล่านี้จะได้รับอุปกรณ์เพื่อการดูแลสุขอนามัย รวมถึงปฎิบัติตามมาตรการ “การเว้นระยะห่าง” ในที่ทำงานอย่างเคร่งครัด สำหรับที่โรงงาน และคลังน้ำมัน ก็จะมีเพียงพนักงานบางคนที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงาน และจะต้องได้รับอนุญาตจากหัวหน้างานก่อนเท่านั้น หากพนักงานมีข้อสงสัย หรือต้องการปรึกษา ก็สามารถติดต่อหัวหน้าส่วนโดยตรง หรือที่ศูนย์ช่วยเหลือสำหรับพนักงาน (Employee Assistance Helpline) ได้เช่นกัน”

2. ลูกค้าคือคนสำคัญไม่ว่าในสถานการณ์ใด 
เชลล์ ประเทศไทย ดำเนินธุรกิจภายใต้เจตนารมณ์ของบริษัท ในการ “เติมสุขให้ทุกชีวิต” เติมสุขในความหมายของเชลล์ คือการดำเนินธุรกิจที่ไม่ได้หวังทางการเงินเพียงอย่างดียว แต่เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนไทย และเพื่อสังคมไทยทั้งในปัจจุบันและอนาคต ในภาวะวิกฤตนี้ เชลล์ยังคงส่งมอบน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่น และยางมะตอย เพื่อให้ลูกค้าได้ใช้งานอย่างต่อเนื่อง และสำหรับในส่วนที่ขาดแคลน ในระหว่างที่เราทุกคนกำลังเผชิญกับโรคโควิด – 19 นี้ เชลล์ ได้ยกระดับการดูแลรักษาความปลอดภัยและสุขอนามัย อาทิ การจัดเตรียมเจลล้างมือแอลกอฮอล์ให้กับลูกค้าในทุกสถานีบริการ ตลอดจนพนักงาน ลูกค้า และคู่ค้า เพื่อช่วยให้ทุกคนได้ดูแลสุขอนามัยตนเองเบื้องต้น สำหรับร้านสะดวกซื้อซีเล็คและร้านกาแฟเดลี่คาเฟ่ในสถานีบริการน้ำมัน เชลล์ ได้นำโต๊ะเก้าอี้ออก เพื่อป้องกันการรวมกลุ่มของคนจำนวนมาก โดยจะให้บริการเฉพาะแบบสั่งและนำกลับเท่านั้น

3. บริหารทรัพยากรให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคม
การบริหารจัดการในภาวะโรคระบาดนี้ต้องการความร่วมมือจากทั้งภาครัฐและเอกชน ทีมเชลล์ ได้ประเมินและจัดสรรการบริหารจัดการด้านการบริจาคเงินออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะฉุกเฉิน ระยะฟื้นฟู และระยะกลับสู่ภาวะ เชลล์ ประเทศไทย ร่วมบริจาคเงินให้กับมูลนิธิโรงพยาบาลรามาธิบดี เพื่อสนับสนุนเครื่องช่วยหายใจ (Extracorporeal Membrane Oxygenation - ECMO) รวมถึงอุปกรณ์จำเป็นเพื่อการรักษาและดูแลผู้ป่วยอื่นๆ เพื่อเตรียมรับมือการระบาดในระยะต่างๆ ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

“สิ่งที่เราทำอยู่นี้ คือการบริหารจัดการเช่นเดียวกับภาวะวิกฤตอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบกับสังคมโดยรวม เราต้องระบุให้ชัดเจนว่าอะไรคือความต้องการของสังคม เพื่อให้ทราบว่า เราต้องบริหารจัดการทรัพยากร บุคลากร และงบประมาณของเราอย่างไร เพื่อให้ฝ่าฟันวิกฤตนี้ไปได้ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ ด้วยความร่วมมือและความเข้าใจในสิ่งที่ผู้ได้รับความเดือดร้อน และภาคส่วนต่างๆ ต้องการ อย่างแท้จริง”

4. เข้าใจในการเปลี่ยนแปลง ยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยน
สถานการณ์โรคโควิด -19 นี้มีผลกระทบกับทุกคน ทั้งในภาคส่วนธุรกิจ ลูกค้า และคู่ค้าของเรา สิ่งสำคัญสำหรับการทำงานในสภาวการณ์เช่นนี้ คือ ความเข้าใจในการเปลี่ยนแปลง ความยืดหยุ่น และการปรับเปลี่ยนที่เหมาะสม เชลล์ มีการปรับเปลี่ยนการทำงานหลายอย่าง อาทิ การเปลี่ยนงบการสื่อสารการตลาดมาสนับสนุนการช่วยเหลือเร่งด่วนต่างๆ สำหรับงานที่ยังต้องการความต่อเนื่องเนื่องเป็นวาระหลักอย่าง “การเปลี่ยนผ่านพลังงาน” (Energy Transition) โครงการ Imagine The Future Scenarios Competition ก็ได้ถูกปรับเปลี่ยนไปอยู่บน แพลตฟอร์มออนไลน์ เป็นต้น ปนันท์ กล่าวว่า“เราต้องพยายามทำหน้าที่ของเราเพื่อส่งมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าและผู้เกี่ยวข้องทุกคน ในทุกภารกิจที่เราทำ สิ่งสำคัญในภาวะเช่นนี้คือการปรับตัว ซึ่งเป็นความท้าทายในภาวะเร่งด่วน มีความซับซ้อน และไม่แน่นอน ผมขอบคุณความร่วมมือของพนักงานทุกคนที่ทำงานได้เป็นอย่างดีภายใต้ภาวะความท้าทายที่เพิ่มขึ้นนี้”

5. รวมพลังสร้างความร่วมมือและปลอดภัยไปด้วยกัน
ทีมที่เข้มแข็ง คือจุดตั้งต้นของความสามารถในการรับมือกับสถานการณ์ที่วิกฤต เช่นเดียวกับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น เชลล์เชื่อเสมอว่าพลังความเป็น “เรา” และพลังความร่วมมือจะช่วยแก้ปัญหา และสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในอนาคต

 “เราภูมิใจที่งานของเรามีส่วนช่วยทุกคนที่เกี่ยวข้อง จากพนักงานของเรา คู่ค้า ลูกค้า ไปจนทีมแพทย์ และเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายในวิกฤตครั้งนี้ เชลล์ ขอขอบคุณคนไทย ขอบคุณบุคลากรทางการแพทย์ ที่กำลังใช้ความพยายามอย่างมากในการรับมือกับการระบาด และวางใจให้เชลล์เป็นพันธมิตรที่ไว้วางใจได้ แม้ในภาวะวิกฤต เราทำสิ่งที่ดีที่สุดเสมอ ให้ทุกคนผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปด้วยกันอย่างปลอดภัย”

Shell’s thailand response to COVID-19
บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด นำโดย นายปนันท์ ประจวบเหมาะ ประธานกรรมการ (ซ้าย) มอบเงินสนับสนุนด้านการแพทย์ แก่ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล (ขวา)

มาตรการรับมือระดับสากลของเชลล์ต่อสถานการณ์ไวรัส COVID-19

ในขณะที่ผลกระทบของไวรัส COVID-19 ได้แผ่ขยายวงกว้างไปในระดับโลก เชลล์ ยังคงให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและสุขภาพของพนักงานทุกคนและลูกค้าทุกท่านอย่างสูงสุด รวมไปถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของบริษัทในทุกภาคส่วน บริษัทฯ ยังคงติดตามสถานการณ์ไวรัส COVID-19 แบบรายวัน ในทุกประเทศ และปฏิบัติตามคำแนะนำของหน่วยงานที่ดูแลด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องในแต่ละประเทศ และด้วยสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลานี้ เชลล์ ได้มีการติดต่อกับคู่ค้าและลูกค้าหลัก ๆ อย่างต่อเนื่องเช่นกัน

ในส่วนของสถานที่ทำงานและสำนักงานทั่วโลกของเชลล์ บริษัทฯ

ได้มีแผนการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ เพื่อให้บริษัทฯ สามารถปฏิบัติงานในการส่งมอบพลังงานและผลิตภัณฑ์ที่สำคัญในอุตสาหกรรมพลังงาน เพื่อตอบรับกับความต้องการในแต่ละประเทศ ในชุมชน ธุรกิจ ผู้ขับขี่ และลูกค้าตามบ้านทั่วไป การส่งมอบพลังงานสำคัญเหล่านี้ ยังรวมไปถึงการจัดส่งผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อาทิ ก๊าซธรรมชาติเหลวให้กับนานาประเทศ รวมไปถึงการจัดสรรสารเคมีที่จำเป็นสำหรับกระบวนการสำคัญของอุตสาหกรรมหลักในประเทศต่างๆ โดยขณะนี้ เรากำลังเร่งเพิ่มกำลังการผลิตไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ สารเคมีสำคัญซึ่งเป็นส่วนประกอบในการผลิตเจลล้างมือแอลกอฮอล์

“ผมมีความภาคภูมิใจที่พนักงานเชลล์ทั่วโลกได้ร่วมมือกันสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าของเรา ในการจัดสรรพลังงานและผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงการดำเนินธุรกิจในทุกภาคส่วนให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผมขอขอบคุณพนักงานทุกคนที่ตั้งใจปฏิบัติงานท่ามกลางสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน และยังต้องเผชิญกับสภาพความเป็นอยู่ส่วนตัวที่ต่างก็ได้รับผลกระทบ พวกเราทุกคนมีความมุ่งมั่นตั้งใจ ที่จะทำทุกอย่างเท่าที่เราจะทำได้ เพื่อให้เราทุกคนมีสุขภาพที่แข็งแรง” มร. ฮิวเบิร์ต วิเจเวอโน ผู้อำนวยการด้านธุรกิจปลายน้ำของเชลล์ กล่าว

ขณะนี้ เชลล์ได้ดำเนินมาตรการและเตรียมแผนการต่างๆ

เพื่อให้พนักงานและลูกค้าผ่านเครือข่ายสถานีบริการน้ำมันทั่วโลกของเราปลอดภัยและมีสุขภาพแข็งแรง บริษัทฯ ได้ดำเนินมาตรการในเรื่องการดูแลรักษาความสะอาด รวมไปถึงการเพิ่มสต็อกสินค้าสำหรับทำความสะอาด และสินค้าจำเป็นอื่น ๆ

เชลล์ ให้การสนับสนุนและให้ความสำคญกับการช่วยเหลือพนักงานในแต่ละประเทศ อาทิ พนักงานที่ทำงานประจำอยู่ที่สำนักงาน จะได้รับคำแนะนำให้ทำงานจากบ้านแทน หลังจากมีการประกาศคำแนะนำจากรัฐบาลท้องถิ่นของแต่ละประเทศ สำหรับพนักงานที่ทำงานในสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะบนฝั่งหรือในทะเล บริษัทฯ ก็ได้มีมาตรการรองรับเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัยและสุขอนามัยของพนักงานทุกคนด้วยเช่นกัน

บริษัทฯ

มีนโยบายมากมายเพื่อสนับสนุนให้พนักงานได้สร้างสมดุลชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ ซึ่งเป็นนโยบายที่สอดคล้องกับกฎระเบียบข้อบังคับและความต้องการของในแต่ละประเทศ

เชลล์ เดินหน้าให้ความสำคัญในการดูแลให้ผู้คนทั่วโลกปลอดภัยและมีสุขภาพแข็งแรง และบริษัทฯ จะออกมาอัพเดทข้อมูลพร้อมแนวทางและมาตรการต่าง ๆ ที่เชลล์กำลังดำเนินการอยู่ ให้กับทั้งพนักงานและลูกค้า ตามการเคลื่อนไหวของสถานการณ์ต่อไป

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ 

Shell station 2020 pecten

ข่าวสารที่เกี่ยวข้อง

เชลล์มอบเงินสนับสนุนมูลนิธิชัยพัฒนา เตรียมความพร้อมสู่ฐานวิถีชีวิตใหม่หลังภัยโควิด-19

กรุงเทพฯ – ประเทศไทย: บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด นำโดย นายปนันท์ ประจวบเหมาะ ประธานกรรมการ ร่วมช่วยเหลือฟื้นฟูความเป็นอยู่ ส่งเสริมความปลอดภัย และสนับสนุนการพัฒนาอาชีพของคนไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล มอบเงินจำนวน 2,000,000 บาท ให้กับมูลนิธิชัยพัฒนา ในกองทุนชัยพัฒนาสู้ภัยโควิด 19 (และโรคระบาดต่างๆ ) โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานเสี่ยงชีวิตดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด 19 ในโรงพยาบาลชนบท และพื้นที่ขาดแคลนที่ต้องการความช่วยเหลือ เชลล์ ประเทศไทย พร้อมเดินหน้าฟื้นฟูชีวิตความเป็นอยู่และความปลอดภัยของคนไทยที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดครั้งนี้อย่างต่อเนื่อง

เชลล์ห่วงใยมอบเงินสนับสนุนการแพทย์ และร่วมฟื้นฟูฝ่าวิกฤตโควิด-19 ส่งเสริมมาตรการดูแลสุขอนามัย เดินหน้ารณรงค์ด้านความปลอดภัยต่อเนื่องทั่วประเทศ

กรุงเทพฯ ประเทศไทย – บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ร่วมฟื้นฟูฝ่าวิกฤต โควิด-19 มอบเงินสนับสนุนทางการแพทย์และวิจัย เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมการศึกษาวิจัยด้านสุขอนามัย การดูแลจัดซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น และเตรียมความพร้อมด้านสาธารณสุขในระยะฟื้นฟู รวมจำนวน 4 ล้านบาท นอกจากนี้ ในช่วงที่ผ่านมา “กองทุนก้าวไปคู่ไทย” ซึ่งก่อตั้งโดยพนักงานเชลล์ ยังได้ร่วมมอบเงินจำนวน 150,000 บาท แก่โรงพยาบาลที่ขาดแคลน เพื่อสนับสนุนความพร้อมด้านสาธารณสุขให้กับประชาชนที่ประสบความลำบากในสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัส โควิด-19 ด้วย