ผลการศึกษาฉบับล่าสุดนี้ “มองผ่านเลนส์สู่เมืองแห่งอนาคต” เป็นภาคต่อเนื่องของ Shell New Lens Scenario ที่มองไปถึงการใช้พลังงานในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการขยายตัวของเมืองและจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้นำในหลากหลายหน่วยงาน ได้ร่วมกันออกแบบเมืองในวันนี้ เพื่อสร้างเมืองที่มีความน่าอยู่และใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต

ดร. โช อุน คง หัวหน้าทีมนักวิเคราะห์ของเชลล์ ได้กล่าวในงานนี้ว่า “จากข้อมูลโดยหน่วยงานสำคัญทางด้านการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ของสหประชาชาติ (UN-HABITAT) ภายในปี พ.ศ. 2563 หรืออีกเพียง 6 ปีข้างหน้านี้ 2 ใน 3 ของประชากรชาวเมืองในประเทศที่เป็นสมาชิกของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จะมีการย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่ในภาคมหานคร (Mega-Urban Regions) เพียง 5 แห่งเท่านั้น ได้แก่ กรุงเทพมหานครฯ จะมีประชากรถึง 30 ล้านคน, กรุงกัวลาลัมเปอร์ 6 ล้านคน, สิงคโปร์ 10 ล้านคน, ชวา 100 ล้านคน และกรุงมะนิลา ที่ 30 ล้านคน

[1] ภาคมหานคร หรือ BMR ของกรุงเทพมหานคร ครอบคลุมพื้นที่ 6 เขตการปกครอง ได้แก่กรุงเทพฯ และอีก 5 จังหวัดปริมณฑล คือ สมุทรปราการ ปทุมธานี สมุทรสาคร นครปฐม และนนทบุรี ส่วนที่เป็น BMR นี้มีพื้นที่ทั้งหมด 7,761.6 ตารางกิโลเมตร โดยพื้นที่ดังกล่าวเป็น เขตพื้นที่ที่มีเมืองศูนย์กลางและมีพื้นที่เมืองอื่นๆ อยู่ล้อมรอบมีการผสมผสานทางเศรษฐกิจและสังคมกับเมืองศูนย์กลาง (สถาบันวิจัยประชากรและสังคม, 2524)

นอกจากนี้ สำนักงานเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ ยังคาดการณ์ด้วยว่า ภายในปี พ.ศ. 2593 จำนวนผู้คนทั่วโลกที่อาศัยอยู่ในเมืองจะเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 70 จากร้อยละ 54 ในปี พ.ศ. 2557 โดยอยู่ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงร้อยละ 44

“เมื่อเมืองมีการขยายตัว ย่อมเป็นธรรมดาที่ความต้องการทรัพยากรจะสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็น น้ำ อาหาร หรือแหล่งพลังงาน ทุกวันนี้เมืองต่างๆ ใช้ทรัพยากรถึงร้อยละ 66 ของที่มีทั้งหมด และกำลังจะเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 80 ในอีก 30 ปีข้างหน้า การขยายตัวของเมืองและการที่ผู้คนย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่ในเมืองกันมากขึ้น จะส่งผลต่อความต้องการพลังงาน และแนวทางการใช้งาน รวมถึงความสามารถของเมืองที่จะจัดสรรการใช้งานให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพของผู้คนในเมืองโดยตรง

“การขยายตัวของเมืองนั้น ส่งผลกระทบต่อเราทุกคน และทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็น ภาคเอกชนหรือ รัฐบาล ต้องทำงานร่วมกันเพื่อที่จะเห็นถึงคุณค่าของการที่เมืองต่างๆ ในอนาคตนั้นใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีอากาศที่บริสุทธิ์มากขึ้น” ดร. โช กล่าว

โดย ดร.โช ยังกล่าวด้วยว่า ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) และบริษัท ออกแบบและสถาปัตย์ มาร์ค แอนด์ จอร์ดี้ (Marques & Jordy) นับเป็นตัวอย่างจากภาคเอกชน ที่มุ่งมั่นทำงานด้านการวางแผนและพัฒนา ทางด้านต่างๆ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าของชาวกรุงเทพฯ โดยอาศัยนวัตกรรมใหม่ๆ มาร่วมใช้กับแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

“ถือเป็นเรื่องน่ายินดี ที่เราได้เห็นองค์กรอย่าง ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง และ มาร์ค แอนด์ จอร์ดี้ ร่วมกันวางแผนพัฒนาเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ โดยคำนึงถึงความท้าทายต่างๆ ที่เมืองนี้กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน และในอดีต และนำมาเป็นบทเรียนที่จะทำให้การพัฒนาเป็นไปอย่างยั่งยืนในอนาคต และที่สำคัญคือให้ความใส่ใจว่าคนไทยที่อาศัยอยู่ในเมืองนี้ต้องการอะไร เพื่อทำให้เมืองนี้ เป็นเมืองที่น่าอยู่ของทุกคน”

ดร. โช เน้นย้ำว่าผลการศึกษาที่เราได้เห็นกันวันนี้ เป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่า ทุกสิ่งที่เราทำในวันนี้ จะส่งผลต่อความสำเร็จในอนาคต โดยเฉพาะเรื่องของการจัดการความท้าทายด้านต่างๆ ที่เกิดจากการขยายตัวของเมืองใหญ่อย่างเช่นกรุงเทพมหานครฯ

“แม้เมือง ในแต่ละประเทศของโลกใบนี้ จะมีความแตกต่างกันมาก แต่แนวทางการจัดการที่เป็นเลิศทางด้านการออกแบบเมืองนั้นมีอยู่และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาต่อยอดต่อไป เช่น เมืองขนาดเล็กแม้มีประชากรอาศัยอย่างหนาแน่น แต่ได้วางแผนเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานและระบบบริการต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จัดเป็นเมืองที่ใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่า และหากว่ามีการดูแลจัดการที่ดี เมืองนั้นสามารถเป็นเมืองที่น่าอยู่ได้ ดังนั้นจะเห็นว่าการวางแผนของเมืองที่ดีนั้น จะสามารถส่งผลให้มีการใช้งานทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่า ชาญฉลาด และวิถีของเมืองนั้นจะสามารถต้านทานความกดดันต่างๆ ที่อาจจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้คนในเมืองนั้นในอนาคตได้”

รายงานเรื่อง “เชลล์ มองผ่านเลนส์สู่เมืองแห่งอนาคต” นี้ศึกษาถึงความเป็นได้ ในแหล่งอาศัยที่มีความหนาแน่นกว่า 500 แหล่งทั่วโลก รวมถึงเมืองขนาดใหญ่ที่มีคนอาศัยอยู่กว่า 10 ล้านคน และได้แบ่งเมืองเหล่านี้ ออกเป็น 6 กลุ่ม ชี้ให้เห็นว่าพื้นที่ใดมีการใช้พลังงานสูงสุด และหาความเป็นไปได้ว่า จะมีเมืองใหญ่เกิดขึ้นที่ใดอีกในอนาคต

จากผลการศึกษานี้ มี 2 จาก 6 กลุ่ม ที่มีการใช้พลังงานสูง ได้แก่ Sprawling Metropolises หรือเมืองขนาดใหญ่ที่กำลังขยายตัว เช่น กรุงโตเกียว และ Prosperous Communities เมืองที่ร่ำรวย อย่างดูไบ เป็นต้น ในขณะที่เมืองในกลุ่ม Urban Powerhouses หรือเมืองที่พัฒนาแล้วที่มีประชากรหนาแน่น เช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ หรือ นิวยอร์ค ถูกจัดว่าเป็นเมืองที่มีความหนาแน่นสูง และในขณะเดียวกันก็เป็นผู้มีรายได้สูง ดังนั้นผู้คนในเมืองเหล่านี้ มีความต้องการใช้พลังงานสูง แต่ว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นๆ ในระดับโลกแล้ว ยังถือว่าเป็นความต้องการที่ที่น้อยอยู่

กลุ่ม Underdeveloped Urban Centres หรือเมืองหลักที่ยังไม่พัฒนา เป็นกลุ่มของเมืองส่วนใหญ่ที่มีการศึกษาในครั้งนี้ แต่กลับใช้พลังงานเพียง ร้อยละ 11 ของความต้องการของโลก ส่วนเมือง Developing Mega-Hubs หรือ เมืองขนาดใหญ่ที่กำลังพัฒนา เช่น ไฮเดอราบาด ในอินเดีย หรือ เมืองฉงชิ่ง เป็นกลุ่มที่ใช้พลังงานน้อยที่สุดใน 6 กลุ่ม ในขณะที่เมืองที่มีคนยากจนอยู่หนาแน่น หรือ Underprivileged Crowded Cities อย่าง มะนิลา และบังกาลอร์ นั้นยังจัดว่ามีการช้พลังงานน้อยอยู่ แต่ว่าในอนาคตการใช้พลังงานของคนกลุ่มนี้จะเพิ่มขึ้นเมื่อประชากรมีการขยายตัว และมีรายได้ที่สูงขึ้น ความต้องการที่สูงขึ้นนี้จะส่งผลต่อการใช้พลังงานโดยรวมของโลก ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่พวกเขาต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบ

เชลล์ได้ใช้แบบจำลองสถานการณ์ (Scenario Planning) ศึกษาถึงโอกาสและความเป็นไปได้ของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เป็นเวลากว่า 40 ปีมาแล้ว ในปีนี้เชลล์ ได้เปิดเผยผลการศึกษาล่าสุด “New Lenses on Future Cities” ซึ่งเป็นผลงานต่อเนื่องของการวิเคราะห์แบบจำลองสถานการณ์ในอนาคตผ่านการมองด้วยเลนส์ใหม่ เพื่อให้ผู้ที่มีบทบาทในการตัดสินใจด้านนโยบาย ได้เข้าใจถึงความท้าทายทางด้านพลังงานในอนาคต โดยรายงานฉบับล่าสุดนี้ มองผ่านเลนส์ไปยังอนาคตถึงปี พ.ศ. 2603 ซึ่งไกลกว่ารายงานชิ้นก่อนๆ ที่เคยทำมา ชี้ให้เห็นถึงความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นจากการที่ประชากรรายได้มากขึ้น การขยายตัวของเมือง และจะส่งผลจะการใช้พลังงานในระยะยาว

ข้อมูลสำคัญของรายงานนี้

  • เมืองที่มีการวางแผนมาอย่างดี จะมีส่วนช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนในเมืองได้มาก โดยเฉพาะในเรื่องของโอกาสในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และความร่วมมือในการสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่หากเมืองต่างๆ มีการจัดการที่ไม่ดีแล้ว คุณภาพชีวิตของคนในเมืองก็อาจจะลดลง สิ่งแวดล้อมในเมืองไม่มีคุณภาพ มีการเพิ่มก๊าซเรือนกระจก ผู้คนมีความเครียดมากขึ้น และอาจจะถึงขั้นที่จะส่งผลให้เกิดความไม่มั่นคงทางด้านการเมืองได้
  • แนวทางการพัฒนาของเมืองนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างสาธารณูปโภคที่มีอยู่เดิม ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรม สภาพทางภูมิศาสตร์ ความสามารถทางเศรษฐกิจ รวมถึงความสามารถของภาครัฐ และสถาบันต่างๆ ที่จะวางแผนเพื่อความเติบโตของเมือง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องธรรมดา ที่บางเมืองประสบความสำเร็จในการพัฒนา ในขณะที่บางเมืองล้มเหลว
  • แนวทางการพัฒนาเมืองนั้น ไม่มีสูตรสำเร็จ และไม่มีการออกแบบใด ที่จะเหมาะสมกับทุกเมือง
  • อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างของการพัฒนาเมืองที่ดีนั้นมีอยู่ และมีแนวทางสำคัญบางประการที่นักวางแผนสามารถนำไปปรับใช้ได้ เช่น เมืองที่มีประชากรอยู่กันอย่างหนาแน่น แต่ว่ามีการจัดการโครงสร้างสาธารณูโภคอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในแง่ของระบบขนส่งสาธารณะ และบริการต่างๆ นั้น จะเป็นเมืองที่มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเมืองที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า แต่ว่าไม่มีการจัดการที่ดี
  • เมืองที่มีประชากรอยู่อย่างหนาแน่นนั้น สามารถเป็นเมืองที่น่าใช้ชีวิตได้ ตราบใดที่มีการออกแบบ และจัดการที่ดี
  • โครงสร้างสาธารณะในเมืองนั้น มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ดังนั้นการตัดสินใจในวันนี้จะมีส่วนกำหนดว่าเมืองนั้น จะสามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงาน “มองผ่านเลนส์สู่เมืองแห่งอนาคต” สามารถดูได้ที่  www.shell.com/futurecities

ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ:

บงกช แพบรรยง

ผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์, บริษัทเชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด

โทรศัพท์ +662 262 6389

โทรศัพท์มือถือ +66 (0) 81-751-8976

อีเมล: bongkod.paebunyong@shell.com

มาริสา ทรี

ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน สแตรทิจีส์ ประเทศไทย

โทรศัพท์: +662 627 3501 ext. 208

อีเมล: mtree@hkstrategies.com