นายไซมอน เฮิรส์ ผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายการตลาดค้าปลีก บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า ในขณะนี้ ราคาต้นทุนของน้ำมันดีเซลหน้าโรงกลั่นสูงกว่าราคาขายปลีกหน้าปั้ม ประมาณ 0.85 บาท/ลิตร ซึ่งหากพิจารณาจากผลการศึกษาของ PTIT และกระทรวง พลังงาน (EPPO)  ได้ระบุไว้ว่า ตัวเลขค่าการตลาดของธุรกิจน้ำมัน ที่เหมาะสมตามจุดคุ้มทุน และสามารถดำเนิน ธุรกิจได้นั้น ควรจะอยู่ที่ราคา 1.50-1.80 บาท/ลิตร  ซึ่งจะ้มีผลทำให้ ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซล หน้าปั้มปรับเพิ่มขึ้นเป็น 2.35 บาท/ลิตร โดยคำนวณจากค่าการตลาดของนํ้ามันดีเซลในวันนี้ ที่ติดลบ 0.85 บาท/ลิตร บวกต้นทุนค่าขนส่ง ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการบริหารต่างๆ ที่ควรจะเป็นอีก  1.50 บาท/ลิตร รวมเป็น 2.35 บาท/ลิตร

ดังนั้น จากผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)ที่สรุปเป็น  มาตรการออกมาในวันนี้ (12 มี.ค.51) ว่า จะลดการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนนํ้ามันเชื้อเพลิง และกองทุนเพื่อส่งเสริมอนุรักษ์พลังงานใน ส่วนของน้ำมันดีเซลลง 0.90 บาท/ลิตร  จึงยังไม่ใช่ค่า การตลาดที่เหมาะสม เนื่องจากบริษัทน้ำมันยังต้องปรับราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นอีก 1.45 บาท/ลิตร จึงจะทำให้ไม่ขาดทุน

นอกจากนั้น ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 การที่บริษัทน้ำมันไม่สามารถปรับขึ้นราคา ให้ได้ทัน ตามต้นทุนราคาน้ำมันทั่วโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาตลอด  เพื่อช่วยแบ่งเบา ความเดือดร้อนของ ประชาชน ทำให้บริษัทขาดทุนเป็นจำนวนเงินกว่า 400 ล้านบาท  โดยเฉพาะจากค่าการตลาด ในวันนี้ และหลังจากมาตรการของรัฐบาล บริษัทยังช่วยบรรเทา ความเดือดร้อนของประชาชน โดยขาดทุนจากน้ำมันดีเซลผลิตภัณฑ์เดียว ประมาณ 6 ล้านบาทต่อวัน  ซึ่งเป็นการทำธุรกิจ ที่ไม่ยั่งยืน  เนื่องจากราคาหน้าปั้ม ไม่ได้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงของราคาน้ำมันโลก  จึงทำให้เชลล์ ต้องมีการปรับราคาน้ำมันในวันนี้ ทุกผลิตภัณฑ์อีก 0.50 บาท/ลิตร มีผลวันที่ 13 มีนาคม 2551 ตั้งแต่ 05.00 น. อย่างไรก็ตามการปรับเพิ่มครั้งนี้ บริษัทยังขาดทุน 0.95 บาท/ลิตร ทุกลิตรที่ขาย